รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ในยุคการเปลี่ยนแปลง

Main Article Content

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและยืนยันองค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ
ของผู้บริหารสถานศึกษาไปทดลองใช้สถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี จำนวน 426 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมินรูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t – test
แบบ Dependent Samples และ การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้าน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ การคิดอย่างสร้างสรรค์มุ่งนวัตกรรม การมีมนุษยสัมพันธ์ การวางแผน
และการบริหารจัดการ และการบริหารตนเอง ผลการตรวจสอบความตรงของรูปแบบ พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า Chi-Square = 0.55 ค่า p = 0.757 ค่า df = 2 ค่าราก
ของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) = 0.000 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเหมาะสม (GFI) = 1.0000) ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหาร กระบวนการพัฒนา การประเมินผล
การดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ไปทดลองใช้ในสถานศึกษา พบว่า ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาฯ มีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เพชรสมบัติ พ. . (2023). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ในยุคการเปลี่ยนแปลง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 521–530. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/266425
บท
บทความวิจัย

References

Assawapoom, S. (2018). A Development Model for Private School Administration to Excellence. Educational Administration. Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. Nakhon Si Thammarat.

Marquardt, M. J., & Reynolds, A. (1994). The Global Learning Organization. New York: IRWIN.

Office of the Basic Education Commission. (2018). Partnership School Project Policy Research and Development Group, Banhkok: Aksornthal Press Limited Partnership.

Office of the Civil Service Commission. (2010). Handbook for Determining Competencies in the Civil Service: Core Competency Guide. Nonthaburi: Prachoomchang Company Limited.

Office of the National Economic and Social Development Commission. (2017). National Economic and Social Development Plan Twelfth Edition 2017 - 2021. Bangkok: Prime Minister's Office

Runcharoen, T. (2007). Professionalism in Organizing and Administering Education During the Educational Reform Era. Bangkok: Khao fang Publishing Co., Ltd.

Thailand Development Research Institute Foundation. (2013). A Complete Report on the Preparation of a Responsible Basic Education Reform Strategy. Bangkok: Presented to the Office of the Basic Education Commission.

Yamkeaw, K., & Phetsombat, P. (2022). Developing a Program to Enhance Teacher’s Competency on Classroom Management in Schools under Sa Kaeo Primary Educational Service Area Office 1. The Journal of Research and Academics, 6(1), 277-288.