การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้ 2. พัฒนาประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 3. พัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป วิธีดําเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมแพพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจระหว่างกระบวนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นฐาน มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ 3) ขั้นตอนการเรียนรู้ 4) การวัดผลและประเมินผล และ 5) ระบบสนับสนุน ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D.= 0.32) และแผนการเรียนรู้โดยภาพรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D.= 0.58) 2. ประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้ด้านกระบวนการ (E1) มีค่าร้อยละเท่ากับ 74.92 และการประเมินผลลัพธ์ (E2) มีค่าร้อยละเท่ากับ 73.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 3. ผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีคะแนนกับร้อยละ 75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Academic Work at Chum Phae Pittayakom School. (2021). Learning Results Report for the Academic Year 2021. Khon Kaen: Chum Phae Pittayakom.
Allen, E. D., & Valette, R. M. (1989). Classroom Techniques: Foreignlanguage and English as a Second Language. New York: Harcourt Brace Javanovich Inc.
Anderson, N. J. (1999). Exploring Second Language Reading: Issues and Strategies. Toronto: Heinle & Heinle Publishers.
Jammor, P., Prasarnpun, S., Kaewurai, W., & Lhincharoen, A. (2016). A Development of Blended Learning Management Model in Biology Using Resource Based Learning to Enhance Learning Avidity for Highschool Students. Journal of Education Naresuan University, 18(2), 37-49.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2011). Models of Teaching. (9th ed.). Boston: Pearson Education Inc.
Kanchanawasi, S. et al. (2004). Selection of Suitable Statistics for Research. Bangkok: Chulalongkorn University.
Khemmani, T. (2017). Science of Teaching: The Knowledge for Efficient Learning Management. (21st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
Kruse, K. (2008). Introduction to Introduction Design and the Addie Model. Retrieved March 15, 2020, from http://www.Cognitivedesignsolutions.Com/Instruction/LearningTheory
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
Ponpuak, C., & Jomhongphiphat, P. (2018). The Development of an Instructional Model Based on his Majesty’s Footstep Wisely to Enhance English Reading Comprehension and Active Learning for Upper Secondary. Academic Journal of Eastern University of Management and Technology, 15(2), 384-402.
Posrie, R. (2007). Creating a Set of Learning Activities. Uttaradit: Uttaradit Rajabhat University.
Scriven, M. (2000). The Methodology of Evaluation in Curriculum Evaluation. Chicago: American Educational Research Association.
Srichote, P., Worathumrong, S., & Yimwilai, S. (2023). Enhancing English Reading Comprehension of Thai Secondary School Students through the Integration of Technology into Task-Based Language. Ratchaphruek Journal, 21(1), 152-166.
Srisaard. B. (2017). Preliminary Research. (10Th ed). Bangkok: Suwiriyasan.
Srisawat, S. (2022). The Development of Instructional Model Using Cooperative with Team Game Tournament Technique to Promote the Achievement of Learning Thai Language for Communication for Undergraduate Students. Journal of MCU Peace Studies, 10(6), 2397-2410.
Sriwichai, P., & Kaewurai, W. (2018). A Development of Learning Management Model Based Onauthentic Learning with Scaffolding to Enhance Creative Thai Language Writing Ability for Upper Secondary Students. Journal of Education Naresuan University, 22(3), 135-149.
Trilling, B., & Charles, F. (2012). 21st Century Skills: Learning for Life in our Times. San Francisco: John Wiley & Sons.