การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโครงการชุมชนรักษาศีล 5 ของชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนนำเสนอประเด็นการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโครงการชุมชนรักษาศีล 5 ของชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร ซึ่งการพัฒนาชุมชนวัดสารอดภายใต้โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “ชุมชนรักษาศีล 5” ชุมชนวัดสารอด เป็นชุมชนเมืองที่มีผู้คนจากถิ่นฐานต่างๆ มาทำมาหากิน มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ โดยมีวัดสารอด เป็นศูนย์กลางในกิจกรรมต่างๆ เกิดการหล่อหลอมให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เมื่อการขับเคลื่อนโครงการลงสู่ชุมชนเมืองจึงต้องอาศัยการบูรณาการสร้างกิจกรรมการรักษาศีล 5 เป็นแนวทางปฏิบัติพื้นฐาน เป็นหลักมนุษยธรรม เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จากการนำเอาโครงการชุมชนรักษาศีล 5 มาใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนวัดสารอด ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโครงการชุมชนรักษาศีล 5 ของชุมชนวัดสารอด คือ ราษฎร์บูรณะศีลบวร โมเดล ที่มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1) ราษฎร์ 2) บูรณะ 3) ศีล 4) บวร การขับเคลื่อนตามรูปแบบดังกล่าวส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ 4 ประการ คือ 1) กายภาพสะอาด สถานที่ภายในวัดสารอดเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความสะอาดเรียบร้อย มีความเป็นรมณียสถานที่ร่มรื่น 2) ศีลสะอาด ชาวชุมชนปฏิบัติตามหลักศีล 5 เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานที่ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าความสำคัญต่อการนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต 3) จิตใจสะอาด ชาวชุมชนรักษาศีล 5 มีความสุขใจ มีสถานที่ปฏิบัติธรรมภายใต้สำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานครแห่งที่ 61 เพื่อรองรับการขัดเกลาจิตใจให้เข้าถึงความสงบ มีความรู้ ตื่น เบิกบาน 4) ปัญญาสะอาด ชาวชุมชนรักษาศีล 5 มีความรู้ความเข้าใจหลักและแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา มีสำนักเรียนศาสนศึกษามีการจัดการเรียนการสอนธรรมะให้แก่ชาวชุมชนวัดสารอด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: MCU Press.
Office of the Secretary of the National Strategy Committee, Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). 20 years National strategy (B.E. 2561-2580). Retrieved August 10, 2022, from https://www.nesdc.go.th/download/document/ SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
Phra Chainarong Vithito (Rongmarud). (2012). Application of Five Precepts to Develop Behaviors of Persons in Society. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.
Phra Montri Tissaro (Kumlue). (2016). A Study of Living in Line with Panca-sila of Wat Ban-noi Community, Sankampaeng District, Chiang Mai Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.
Phrabhrammasenabodi (Pim Yanaviro). (2022). Tracking performance to "the Five Precepts Observing Village" Wat Sarod Community, Rat Burana District, Bangkok. (18 September 2022).
Phramaha Khanngoen Khantidharo (Arthan). (2019). The Development of Quality of Life According to the Five Precepts of the People in Phon Mueang Subdistrict, At Samat District, Roi Et Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Phramaha Nikorn Paladsung, & Zumitzavan, V. (2017). The Investigation of Five Percepts and Peace-Making in the Society Sustainably: A Case Study of Khon Kaen, Thailand. Journal of Graduate Studies Review, 13(3), 43.
Phramaha Phongsak Ratananano. (2018). Management of the Five Precepts Observing Village Project of Sangha Administrators Bangplama District, Suphanburi Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Somdet Phramaha Ratchamangkalajarn (Choung Vorapunno). (2013). (17 November 2013).
The Committee Drives the Project to Create Reconciliation and Reconciliation Using Buddhist Principles "the Five Precepts Observing Village" Wat Sarod Community. (2022). Meeting to Monitor the Progress of Operations "the Five Precepts Observing Village" Wat Sarod Community. (29 June 2022).
______. (2022). Meeting Drives the Project to Create Reconciliation and Reconciliation Using Buddhist Principles "the Five Precepts Observing Village" Wat Sarod Community. (10 June 2022).
______. (2022). Meeting Network of the Five Precepts Observing Village toward Preparing to Organize the Rat Burana Silabovorn Festival. (8 July 2022).
______. (2022). Meeting to Track Progress “Rat Burana Silabovorn Festival”. (5 August 2022).
The Sangkha Supreme Council of Thailand. (2014). Order of Sangha Council No. 1/2014: Appointment of the Steering Committee for the Reconciliation and Reconciliation Project Using the Buddhist Principles “the Five Precepts Observing Village”. Retrieved August 10, 2022, from http://mahathera.onab.go.th/index.php?url= mati&id=7935
Wattanapradith, Kh. (2013). The Process of Creating Motivation to Observe the Five Precepts for the Leaders. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.
Welfare Education Section, Division of Buddhist Studies, National Office of Buddhism. (2014). Sangha Regulations about Implementation of the Five Precepts Village Project 2014.