การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารประจำศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดในประเทศไทย

Main Article Content

ปิยะ หมานอีน
จรัส อติวิทยาภรณ์
ตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด คุณลักษณะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารประจำศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดในประเทศไทย 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพการณ์ของตัวชี้วัด คุณลักษณะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารประจำศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดได้แก่ครูประจำศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดสัดส่วน จำนวน 695 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สำหรับการยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพการณ์กับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดจำนวน 30 คน ใช้การทดสอบค่า ที (t-test) ซึ่งเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยของตัวชี้วัดที่ได้กับเกณฑ์ประเมินค่าที่ระดับมาก (µ ³ 3.50) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดในประเทศไทย มี 8 องค์ประกอบ 78 ตัวชี้วัด สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวชี้วัดทั้งหมด ได้ร้อยละ 63.588 โดยองค์ประกอบที่ 1 ถึง 8 มีค่าไอเกน ตั้งแต่ 20.503-1.965 เรียงตามลำดับได้คือ ความสามารถในการบริหารเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ คุณธรรมจริยธรรมตามศาสนบัญญัติแห่งอิสลาม ภาวะผู้นำ บุคลิกภาพภายนอก บุคลิกภาพภายใน วุฒิภาวะและเอกลักษณ์แห่งศาสนนิยม มนุษย์สัมพันธ์ และการอุทิศตนในการปฏิบัติงาน 2. กลุ่มผู้รู้แจ้งชัดยืนยันว่าตัวชี้วัดที่ค้นพบ ทั้ง 78 ตัวชี้วัดนี้แสดงถึงตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารประจำศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดในประเทศไทย มีความเที่ยงตรงตามสภาพการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonchom, A. (2017). Islamic Leadership. in the Islamic Guru Association of Thailand under the Royal Patronage (Ed.), Annual General Meeting 2017 (P. 37-42). Nonthaburi.

Fongsiri, S. (2015). Desirable Characteristics of School Administrators under the Office of Ubon Ratchathani Primary Education Service Area 5. (Master’s Thesis). Suan Dusit Rajabhat University. Bangkok.

Hodgetts, R. M. (1999). Modern Human Relations at Work. (7th ed.). New York: Dryden Press & Harcourt Brace College.

Keeratiwongchatchawan, P. (2009). The Golden Rule of Leadership. Bangkok: TBK Media Publishing.

Ketsing, W. (1995). Action Research. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Lorwithi, V. (2017). Islam and the Curriculum and Teaching Management. in the Islamic Guru Association of Thailand under the Royal Patronage (Ed.), Annual General Meeting 2017 (p. 60-66). Nonthaburi.

Nesalaeh, W., & Yisoontrong, A. (2020). The Development of Educational Leader Traits According of Prophet Muhammad Model for Administrators of Islamic Private Schools in the Southern Border Provinces. Journal of Yala Rajabhat University, 15(1), 1-11.

Office of the Basic Education Commission. (2010). Teacher Competency Evaluation Handbook. Retrieved August 10, 2022, from https://www.tw-tutor.com/downloads/competency.pdf

Pitakkumpol, A. (2016). Sar Chularachamontri. in the Islamic Guru Association of Thailand under the Royal Patronage (Ed.), Annual General Meeting 2016 (P. (1)). Nonthaburi.

Siriprasertchoke, R. (2016). Desirable Characteristics of Executives in the 21st Century. Academic Discussion Report on Desirable Characteristics of Executives in the 21st Century. Chonburi: College of Public Administration, Burapha University.

Wikipedia Encyclopedia, (2021). Imam. Retrieved August 20, 2022, from https://th.wikipedia.org/wiki

Wongchalee, K. (2018). Characteristics of Professional School Administrators According to Teachers' Opinions in Secondary Schools. Chonburi: Burapha University.