รูปแบบพัฒนาการใช้สมาร์ทโฟนของยุวชนยุคดิจิทัลในจังหวัดนครราชสีมา โดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ธีระพงค์ ทองมั่นคง
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา และแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนาการใช้สมาร์ทโฟนของยุวชนยุคดิจิทัลตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาการใช้สมาร์ทโฟนของยุวชนยุคดิจิทัล และ 3) พัฒนาและนำเสนอรูปแบบพัฒนาการใช้สมาร์ทโฟน ของยุวชนยุคดิจิทัลในจังหวัดนครราชสีมาโดยพุทธสันติวิธี บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นครอบครัวเด็กอายุ 10 ถึง 12 ปี จากโรงเรียนในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รวม 12 ครอบครัว คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากครอบครัวที่ผู้ปกครองสมัครใจเข้าร่วมโครงการ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น1. การสัมภาษณ์ สำหรับใช้เก็บข้อมูลในการพัฒนารูปแบบ 2. แบบทดสอบ สำหรับวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังอบรมของกลุ่มตัวอย่าง 3. แบบสังเกตพฤติกรรม สำหรับให้ผู้ปกครองบันทึกพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ แยกประเด็นตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย เปรียบเทียบ อธิบาย ตีความ และสร้างข้อสรุป และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิง


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการใช้สมาร์ทโฟนของยุวชนยุคดิจิทัล คือ การใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่าใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ขาดทักษะดิจิทัลและความรู้เท่าทัน ส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ การเรียน และความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างในครอบครัวและสังคม 2. หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาการใช้สมาร์ทโฟนของยุวชนยุคดิจิทัล คือ หลักภาวนา 4 โยนิโสมนสิการ ปรโตโฆสะ และพรหมวิหารธรรม 3. รูปแบบพัฒนาการใช้สมาร์ทโฟนของยุวชนยุคดิจิทัลในจังหวัดนครราชสีมาโดยพุทธสันติวิธี คือ การนำเสนอหลักสูตรพัฒนาการใช้สมาร์ทโฟนซึ่งมีขอบเขตในการพัฒนา 6 ด้าน เรียกว่า “FIMDEC Model” ประกอบด้วย ด้านความพร้อมของครอบครัว (F: Family readiness) ด้านสันติภายใน (I: Inner peace) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ (M: Media literacy) ด้านความฉลาดทางดิจิทัล (D: Digital intelligence quotient) ด้านทักษะทางสังคม (E: Empathy) และด้านการสื่อสารและความคิดสร้างสรรค์ (C: Communication and creativity)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chitayasothorn, D. (2009). Diana Baumrind's Parenting Styles. Journal of University of the Thai Chamber of Commerce, 29(4), 173-181.

Damjub, W. (2017). Digital Communication. Interdisciplinary Sripatum Chonburi Journal, 3(1), 46-50.

Department of Mental Health. (2000). EQ: Emotional Intelligence. Bangkok: Department of Mental Health.

Khamcharoen, P., & Polnigongit, W. (2020). The Study of Digital Media Usage Behavior and Digital Literacy Skills of the Elementary School Student. The Journal of Social Communication Innovation, 8(1), 54-66.

Khamcharoen, W., & Polnigongit, W. (2018). Children and Digital Literacy. The Journal of Social Communication Innovation, 6(2), 22-29.

Nakhonratchasima Juvenile and Family Court. (2021). Data of Statistic Cases of Nakhonratchasima Juvenile and Family Court During A.D. 2015-2011. Nakhonratchasima: Nakhonratchasima Juvenile and Family Court.

Panakul, S. (2006). Learning Management for Critical Thinking. Ramkhamhaeng University Journal, 23(4), 39.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2013). Buddhism as the Fundament of Science. (13th ed.). Bangkok: Phidham.

Phradhammapitaka (P.A. Payutto). (2003). Family’s happiness is Peace of Society. Bangkok: Ariyamagga Fund.

Silangam, W. (2018). Dangers of Smartphone Addiction. Huachiew Chalermprakiet University Journal, 22(43-44), 194-195.

Susaoraj, P. (2013). Thinking Development. Bangkok: 9119 Technique Printing.

Thongkham, L. (2003). Psycho -Situational Related Self-Discipline Behavior of the Student Pratomsuksa VI Student, Chumphae District, Khon Kaen Province. (Master’s Thesis). Khon Kaen: Khon Kaen University.

Tipnee, W. (2015). Solution of Family Violence According to Buddhist Doctrine. (Research Report). Nakhonprathom: Mahamakuta Rajavidyalaya Buddhist University.

Vatanasapt, W. (2012). Conflict: Principle and Resolution Tool. (4thed.) Khonkean: Khlangnanawitthaya.