การพัฒนากลยุทธ์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 2 2.พัฒนากลยุทธ์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 2 และ 3.ประเมินกลยุทธ์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นใน เขตสุขภาพที่ 2 เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากร คือ ผู้บริหารและสมาชิกกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบการสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน การสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน และแบบการประเมินกลยุทธ์ จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1. กองทุนมีสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 2 พบว่า เน้นการบริหารตามแผนงบประมาณ มีปัญหา พบว่า กระบวนการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์หรือแผนที่สุขภาพชุมชนยุ่งยากซับซ้อนขาดการมีส่วนร่วม ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า กองทุนฯ มีอิสระในการกำหนดการพัฒนาเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 2 พบว่า มี 9 กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) พัฒนาคณะกรรมการให้มีศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพ 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการ 3) พัฒนาระบบสารสนเทศทางสุขภาพ 4) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำแผนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของกองทุนฯ 5) ส่งเสริมความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของประชาชนในการดำเนินงาน 6) พัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 7) ส่งเสริมบทบาทภาคประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 8) พัฒนาระบบกลไกการควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ 9) ส่งเสริมการนำผลการประเมิน ไปใช้การพัฒนาในทุกระดับ 3. ผลประเมินกลยุทธ์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นใน เขตสุขภาพที่ พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการยอมรับได้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Boonyasopit, W. (2020). Guideline for Buddhism Management of Local Health Security Fund. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(1), 16-28.
Chamsrirat, S. (2019). Factors Influencing the Effectiveness of Management in the Local Health Insurance Fund of Surat Thani Municipality. Journal of Humanities and Social Sciences, 12 (1), 213-239.
Dangkitcharoen, C., Suksan, B., & Thurisut, T. (2019). The Development of Management Model for Health Security Fund in Local Northeastern Thailand. Journal of MCU Nakhondhat, 6(9), 4597-4612.
Jittanongsak, P. (2021). Factors Associated with Operational Behavior of the Local Health Security Fund Committee, Ratchaburi Province. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life, 1(3), 12-21.
Keyong, E. (2019). The Development of Effective Performance Enhancement Strategy for Village Health Volunteers in Sukhothai Province. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 13(1), 52-68.
Kojonna, J. (2020). Opinion of Local Health Security Committee toward Management in Chaibadan District, Lopburi Province. Singburi Hospital Journal, 29(2), 1-11.
Natiboot, P. (2020). Internal Management of Local Health Security Fund According to McKinsey’s 7S Framework. KKU International Journal of Humanities and Social Sciences, 10(1), 38-58.
National Health Security Office, Thailand. (2018). Local Health Security Fund Operation Manual 2018. Bangkok: National Health Security Office, Thailand.
Panacha, S. (2019). Potential Development of Local Health Security Fund Operations in Suphanburi Province, Thailand. Region 4-5 Medical Journal, 38(1), 1-11.
Sareemasae, I. (2018). Evaluation of Local Health Fund Performance in the Area of Three Southernmost Provinces. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 6(1), 118-127.
Suwan, S. (2018). The Strategy of Human Resource and Organization Development. Bangkok: Phetkasem Printing Group.
Udomdun, M. (2018). The Performance of Local Health Security Fund Committee in Surin Province. KKU Research Journal (Graduate Studies), 19(1), 161-171.
Vetcharus, J. (2022). A Model for Driving the Community Health Security Fund by Engaging People at the Local Level. Public Health Policy & Laws Journal, 8(1), 187-201.