แนวทางการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ

Main Article Content

พระมหาพชรพล พชรเมโธ (พื้นบาท)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่  กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่  กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยระเบียบวิจัย แบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร และครู จำนวน 135 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งแบบโครงสร้าง โดยใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และ ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2. วิธีพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยและเหมาะสมกับนักเรียน และต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน จัดให้มีการอบรมครูในการจัดการเรียนการสอนและการผลิตสื่อการสอนให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ครูสามารถนำความรู้มาพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ คือ ทางโรงเรียนควรมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาหลักสูตร พร้อมทั้งการจัดการเรียนการสอนให้เกิดความสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป ควรมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย และคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียนแต่ละบุคคล จัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง และผลิตสื่อเทคโนโลยี เพื่อจะนำมาใช้ในการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลควรมีความสอดคล้องกับแบบเรียนและมีรูปแบบที่หลากหลายในการวัดและประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonged, N. (2022). Learning Management in the New Normal of the School Expanding Educational Opportunities under the Office of Sukhothai Primary Educational Service Area 2. (Master’s Thesis). Uttaradit Rajabhat University. Uttaradit.

Duangchurn, P. (2020). The New Normal in Educational Administration after the Covid-19 Crisis. Journal of Arts Management, 4(3), 783-795.

Khammanee, T. (2006). Reforming Whole-School Learning: A Difficult Thing to Do. Bangkok: Alpha Millennium Co., Ltd.

Mathuros, S. (2021). Management Education Online in the NEW NORMAL COVID-19. Rajapark Journal, 15(40), 33-42.

Muthatakul, A. (2002). Administration of Academic Affairs in Charoensuksa School Ra-Ngae District Narathiwat Province. (Master’s Thesis). Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi.

National Education Act of B.E. 2542 (1999). As Amendment by National Education Act, of B.E. 2545 (December 19, 2002). Government Gazette. Vol.119 Chapter 123 ก. pp. 19-21.

Phaengnukroh, P. (2005). Wat Mai Krong Thong Si Maha Phot District Prachin Buri Province the Management of the Temple's Charitable Private School is Outstanding. Bangkok: Office of the Education Council.

Prasiratesang, R., Sriumpai, P., & Chano, J. (2017). The Development of Learning Model Based on Constructivism by Creative Problem Solving for High School Students. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 23(1), 310-326.

Wasi, P. (2011). “Intellectual Strategy and Educational Reform”. Minutes of the Conference on Visions and Strategies for Educational Reform: National Agenda. Bangkok: Wattana Panich Publishing Company Limited.