รูปแบบการพัฒนาผู้นำกระบวนการต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ปวีณา สงวนชม
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้นำกระบวนกรต้นแบบและแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาผู้นำกระบวนกรต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้นำกระบวนกรต้นแบบสันติภาพ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้นำกระบวนกรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรด้านวิทยากร/บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 16 ท่าน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 30 ท่าน การสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 13 ท่าน การสังเกตการณ์ และวิเคราะห์ผลด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า


1) สภาพปัญหาของผู้นำกระบวนกร ในบริบทของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สังคมเริ่มมีการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งด้านการพัฒนาภายใน ซึ่งแนวคิดตามศาสตร์สมัยใหม่ พบว่า มีบทบาทหนึ่งที่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ เรียกว่า ผู้นำกระบวนกร พบว่า ชื่อเรียกบทบาททำให้เกิดความสับสน ขาดความชัดเจนในบทบาทของผู้นำกระบวนกร รวมถึงไม่ทราบถึงคุณลักษณะของผู้นำกระบวนกรที่จะเป็นผู้จัดกระบวนการให้เกิดคุณภาพ 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้นำกระบวนกรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี พบว่า หลักไตรสิกขา ที่ประกอบด้วย อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา จะเป็นกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของผู้นำกระบวนกร และมีผลลัพธ์ภาวิต 4 คือ ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต ภาวิตปัญญา 3) รูปแบบการพัฒนาผู้นำกระบวนกรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี F-A-M-S-U-K MODEL ซึ่งมีกระบวนการพัฒนา คือ ปลุกให้เป็น เห็นตัวรู้ พัฒนาสู่การปฏิบัติ ผ่านการพัฒนาทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านผู้นำกระบวนกร 2) ด้านการสร้างทัศนคติ 3) ด้านการสร้างสันติภายใน 4) ด้านทักษะและเครื่องมือ 5) ด้านความเข้าใจเครื่องมือพุทธสันติวิธี 6) ด้านองค์ความรู้ โดยมีผลลัพธ์ คือ งดงามตื่นรู้ ประพฤติอยูในธรรม น้อมนำจิตมั่นคง ซื่อตรงรู้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Manorat, K. (2016). A Analysis Human Development in the Principles of Buddhadhamma (Research Report). Ayuthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Nilchaikovit, T. (2016). The Art of Managing the Learning Process for Change: A Manual on the Cognitive Processes. (1st ed.). Pathum Thani: Thammasat University.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). National Strategy 2018-2037. Retrieved October 25, 2019, from http://nscr.nesdb.go.th/

Phra Pramote Vadakovido (Pantapat). (2018). A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkorn University. Ayutthaya.

Phucharoen, W. (2016). Facilitator Skill for Modern Management. (1st ed.). Bangkok: Ariyachon.

Preechanan, C. (2017). Participatory Action Research for Developing Facilitator to Driving Sufficiency Economy Community for the Officer at Rangkayai Municipality, Phimai District, Nakhon Ratchasima. Ratchaphruek Journal, 15(3), 97-104.

Ruangwichatorn, P. (2021). Communication for peace. (1st ed.). Nakhon Pathom: Mahidol University.

Suwanbhudpa, P. (2015). Conflict and Dialogue Process. (1st ed.). Nakhon Pathom: Mahidol University.

Wasi, P. (2006). Spiritual Education Conference. Learning for the Inside. Nakhon Pathom: Mahidol University.

Wattanapradith, K. (2020). Local Peace Engineers: Model of Peace Creating Leadership for the Communities. (Research Report). Ayuthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.