รูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

จารุวรรณ ตาลสุกเรือง
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีการดำเนินการ โดยการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษารูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการศึกษาแนวทาง        การบริหารตามศาสตร์พระราชาโดยการสังเคราะห์เอกสาร และการศึกษารูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน   5 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา โดยการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียน จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 362 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน


ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาองค์ประกอบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่  1) หลักการบริหารตามศาสตร์พระราชา 2) กระบวนการบริหารตามศาสตร์พระราชา 3) คุณภาพสถานศึกษาตามศาสตร์พระราชา 4) ปัจจัยความสำเร็จจากการบริหารงานตามศาสตร์พระราชา สามารถนำมาสร้างเป็นรูปแบบการบริหารตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ซึ่งเมื่อนำรูปแบบไปประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ พบว่า ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.43) และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.68)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chance, P. L., & Segura, S. N. (2009). A Rural High School's Collaborative Approach to School Improvement. Journal of Research in Rural Education, 24(5), 1-12.

Kaolan, J. (2014). Techniques for Academic Administration in Educational Institutions Strategies and Approaches Practice for Executive Professionals. (2nd ed.). Songkhla: Outskirts of Printing.

Nopparat, S. (2018). King's Science to the Development of Administrative Science. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Pansangka, R. et al. (2018). The Model of Educational Institute Development towards a White School according to the Royal Philosophy for Sustainability under the Jurisdiction of the Educational Service Area Office Loei Primary Education District 1. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Pornwiang, S. (2012). Applying the Principles of his Majesty the King's work in the Administration of Basic Educational Institutions. Naresuan University. Phitsanulok.

Sornsakda, S. (2018). The King's Science and Local Wisdom Development. (Master's Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

The Office of the Basic Education Commission. (2019). Policy of the Office of the Commission.Basic Education, Fiscal Year 2019. Bangkok: Agricultural Cooperatives Assembly of Thailand.

The Secretariat of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Sweet Chili Graphic Co., Ltd.

The Secretariat of the House of Representatives. (2017). Report of the Board of Directors. Propel the Succession of the King's Philosophy National Reform Driving Council on Driving Inheriting the King's Science to Reform the Country. Bangkok: Parliament.

Tnongsam, L. (2014). Administrative Components and Teaching and Learning Management. (Master's Thesis). Vongchavalitkul University. Nakhon Ratchasima.

Wannasri, C. (2014). Academic Administration in Educational Institutions. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing.

Wiwattananont, S. (2017). Philosophy of Thai Education according to his Majesty's Initiative. his Majesty Bhumibol Adulyadej, Rama IX (Complete Study). Bangkok: M.P.A.