อนาคตภาพพระสอนศีลธรรมเพื่อยกระดับ การสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสังคมชีวิตวิถีใหม่

Main Article Content

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
ชนันภรณ์ อารีกุล
พระศรีธรรมภาณี
พระมหาพงศธร คลังสอน
ขวัญตระกูล บุธิจักร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพพระสอนศีลธรรมในการยกระดับการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสังคมชีวิตวิถีใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ พระสอนศีลธรรม บุคลากรและผู้บริหารสำนักงานพระสอนศีลธรรม จำนวน 96 รูป/คน ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย


ผลการศึกษาพบว่า การยกระดับการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสังคมชีวิตวิถีใหม่ พระสอนศีลธรรมควรมีการปรับตัวให้ทันยุคกับบริบทของผู้เรียน โดยพระสอนศีลธรรมต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและแม่นในเนื้อหาหลักธรรมคำสอน การจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาเชิงรุกตามหลักไตรสิกขาที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาจิตและปัญญาแก่ผู้เรียน มีเทคนิควิธีการสอนที่ใช้สื่อและเนื้อหาที่ทันสมัยและสอดรับกับบริบทของผู้เรียน มีภาวะผู้นำในการทำงานร่วมกับสถานศึกษาและชุมชน การคัดเลือกพระสอนศีลธรรมควรเน้นคุณสมบัติทั้งด้านวิชาและจรณะ กล่าวคือ ความรู้หลักคำสอนพระพุทธศาสนาและพื้นฐานเกี่ยวกับการสอน มีจริยะวัตรเป็นต้นแบบสร้างความศรัทธา อุทิศตนและมุ่งมั่นในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทักษะสำคัญที่พระสอนศีลธรรมในอนาคตพึงมีเพื่อยกระดับการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสังคมชีวิตวิถีใหม่ ได้แก่ 1) พระสอนศีลธรรมควรมีแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษา 2) พระสอนศีลธรรมควรมีทักษะการสร้างหลักสูตร 3) พระสอนศีลธรรมควรมีทักษะการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน 4) พระสอนศีลธรรมควรมีทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) พระสอนศีลธรรมควรมีทักษะการประเมินการเรียนรู้ และ 6) พระสอนศีลธรรมควรมีทักษะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonrak.S (2020). The Development of Learning Achievements in Buddhism Subjects on Important Buddhist Days of Mathayomsuksa 2 Students with Cooperative Learning Management Using TGT Technique. Education Journal, 3(2), 50-59.

Department of Academic Affairs, Ministry of Education. (2003). Organizing Buddhist Learning Materials. Bangkok: Department of Academic Affairs.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Manager Online. (2020). ยกเลิก “วิชาพุทธศาสนา” เป็นไปได้หรือไม่ “ปัง” หรือ “พัง”. Retrieved September 2, 2021, from !?https://mgronline.com/daily/detail/9630000103272

Paich, V. (2013). Building Learning to the 21st Century. Nakhon Pathom: S. Charoen Printing Co., Ltd.

Phinla, W., & Phinla, W. (2018). The Management of Social Studies Learning in the 21st Century. Bangkok: chulalongkorn University Press.

Phra Anusorn Kittiwanno et al. (2020). New Normal: Educational Adaptation Through Buddhism. Journal of MCU Nakhondhat, 7(9), 56-70.

Phra Dhammavatjarabundit. (2021). Develop Skills for Teaching and Learning in Buddhism According to the New Normal. The Office of Monk Development for Teaching Morality of MCU. Retrieved 20 September, 2021 from https://fb.watch/heBJallBF-/

Phramaha Yuddhapicharn Thongjunra et al. (2022). New Normal of Life that Need the Dhamma. Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak, 9(1), 191-206.

Phra Samuh Somchai Sirisampanno et al. (2017). The Work Performance of Moral Teaching Monks in the Pratheapwitthayathan School.Wihandaeng District.Saraburi Province. Journal of MCU Social Science Review, 6(2 Sp.), 491-504.

Phra Theppawaramethi. (2021). Develop Skills for Teaching and Learning in Buddhism According to the New Normal. The Office of Monk Development for Teaching Morality of MCU. Retrieved 20 September, 2021 from https://fb.watch/heBJallBF-/

Phra Sridhammapani et al. (2018). An Analytical Studies Process and Outcomes of Project of Monks Teaching Morality in School. (Research Report). Ayutthaya: The Office of Monk Development for Teaching Morality of MCU.

Suthasinobon, K. (2020). The Development of Buddhist Instructional Model of Mindfulness Based Learning for Elementary Education Level in Modern Thai Society. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 15(2), 40-53.

Vichanti.S. et al. (2021) Integrated Learning Management of Buddhism, Panidhäna Journal, 17(2), 233-256.