การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศขององค์กรภาครัฐ ภายในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

เทียนไซ สถาพอน
มาลี ไชยเสนา
ธิติพร ชาญศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการระบบสารสนเทศขององค์กรภาครัฐ ภายในแขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างได้แก่ข้าราชการภาครัฐจาก 18 องค์กรภายในเมืองปากเซ แขวงจําปาสัก จำนวน 288 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศขององค์กรภาครัฐในแขวงจำปาสัก สปป.ลาว กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานในองค์กรภาครัฐ ในเมืองปากเซ แขวงจำปาสักและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จำนวน 10 คน 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศขององค์กรภาครัฐในแขวงจำปาสัก สปป.ลาว กลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิภายในองค์กรภาครัฐในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่มและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการระบบสารสนเทศขององค์กรภาครัฐ ภายในแขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} =3.10) โดยด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการตรวจสอบข้อมูล ด้านประมวลผลข้อมูล ด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและด้านการนำข้อมูลไปใช้ อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศขององค์กรภาครัฐ ภายในแขวงจำปาสัก สปป.ลาว มี 4 องค์ประกอบได้แก่ (1) หลักการคือ การประสานงานกันขององค์กรภาครัฐ ในการนำเอาสารสนเทศที่กระจายอยู่มารวมไว้ในระบบสารสนเทศเดียวกันและสามารถสืบค้นได้อย่างทั่วถึง (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบได้แก่เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีข้อมูลที่ทันสมัย ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ นำไปใช้งานได้เกิดประโยชน์ (3) วิธีดำเนินการได้แก่การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินงานเชิงระบบในรูปแบบของ Input-Process-Output (4) เงื่อนไขความสำเร็จได้แก่ องค์กรภาครัฐต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร มีการวางแผนการบริหารจัดการ และจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและเพียงพอ ตลอดจนมีเครือข่ายความร่วมมือกับทุกองค์กรในภาครัฐ และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศขององค์กรภาครัฐ ภายในแขวงจำปาสัก สปป.ลาว ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kanorpetch, S., Ponngam, P., Uppahat, J., & Pongpattrakarn, P. (2019). Development of Activity for Promoting Learning Skill in the 21st Century for Students in National University of Laos in Lao PDR. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 5(2), 238 – 248.

Klinwichit, W., Roschakpai, Y., & Usimat, K. (2013). Health Information for Aging (Phase II) (Online). Retrieved June 21, 2021, from http://www.lib.ubb.ac.th

Ministry of Posts and Telecommunications of Lao PDR. (2015). 10-Year Strategy of Posts and Telecommunications of Lao PDR. Vientiane: Ministry of Posts and Telecommunications.

______. (2015). 30-Year Vision of Posts and Telecommunications of Lao PDR. Vientiane: Ministry of Posts and Telecommunications.

______. (2018). Telecommunication Statistics 2018. Vientiane: Ministry of Posts and Telecommunications.

______. (2021). Lao Digital Economy. Vientiane: Ministry of Technology and Communications.

Thammachoto, P., Sriprasertpab, K., Boriboon, K., & Wattanakun, C. (2017). Information Systems Management Model for Supporting the Learning Organization Based on Thailand Quality Award Criteria. Journal of Veridian Silpakorn University, 10(2), 1-12.

Thangdee, S. (2019). Thailand and Laos Development Cooperation in Postal and Digital Technology. Bangkok: Public Relationship Department.

The World Bank. (2022). Positioning the Lao PDR for a Digital Future. Washington DC: The World Bank.