รูปแบบการจัดการศึกษาในภาวะวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการจัดการศึกษาในภาวะวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ การจัดการศึกษา ในภาวะวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดชลบุรี วิธีดำเนินการวิจัย ใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา จำนวน 21 ท่าน และผู้บริหารสถานศึกษา นักการศึกษาทั่วไป จำนวน 109 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ และ 2) แบบสอบถามประมาณค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลของการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการศึกษาในภาวะวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษาโรงเรียเอกชน ในจังหวัดชลบุรี มี 4 องค์ประกอบได้แก่ ด้านนโยบายการเปิดเรียน ด้านการพัฒนาครูผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านแนวปฏิบัติระหว่างเปิดเรียน 2) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษา ในภาวะวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดชลบุรี พบว่า มี ความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, S.D. = 0.03)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Cavanagh, E. (2020). How 6 Countries Are Opening up Schools Again, with Temperature Checks, Outdoor Classes, and Spaced-out Desks. Retrieved December 20, 2021, from https://www.insider.com/how-china-denmark-japan-reopening-schools-2020-4
Disease, C. (2019). Epidemic Situation Administration Center. (2021). Retrieved December 20, 2021, from https://www.moicovid.com/01/06/2021/uncategorized/3756
Finnish National Agency for Education. (2020). Finnish National Agency for Education – EDUFI. Retrieved December 20, 2021, from https://www.oph.fi/fi/maailman-suurin-vanhempainilta
Hills, P.J. A. (1982). Dictionary of Education. London: Routledge & Kegan Payi.
Hough, J. B., & Duncan, J. K. (1970). Teaching Description and Analysis. Reading, Mass: Addison-Wesley Pub. Co.
Ministry of Education, Singapore. (2020). School and Institutes of Higher Learning to Shift to Full Home-Based Learning; Preschools and Student Care Centre to Suspend General Services. Retrieved January 10, 2022, from https://www.planipolis.iiep.unesco.org/en/2020/schools
Ministry of Education. (2020). Preparation of Ministry of Education Before the Start of Semester 1 July 2020. Retrieved January 10, 2022, from https://www.moe360.blog/2020/05/08/
Munkongcharoenkit, K. (2019). “Teacher Who Creates Learning in Life Situations”. Retrieved December 21, 2021, from https://www.educathai.com/knowledge/articles/83
Osmond-Johnson, P., Campbell, C., & Pollock, K. (2020). Moving Forward in the COVID-19 Era: Reflections for Canadian Education. Retrieved January 11, 2022, from https://www.edcan.ca/articles/moving-forward-in-the-covid-19-era
Sararatana, W. (2013). Participatory Policy Research. (Doctoral Dissertation). Mahamakut Buddhist University. Nakhon Pathom.
World Economic Forum (WEF). (2020). Pandemic Speeds up Human vs. Machine Standoff Over Jobs, Studys Says (japantimes.co.jp.21/10/2020). Retrieved January 11, 2022, from https://www.prachatai.com/journal