บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากร ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ปณิธี บุญสา
พิรานันท์ จันทาพูน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และบทเรียนการจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 2. เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้การจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ส่งผลต่อแนวทางที่เหมาะสมกับภูมินิเวศวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัย 1. การรวบรวมข้อมูลเอกสารโดยยึดโยงกับงานศึกษาสภาองค์กรชุมชน 2. การรวบรวมข้อมูลผ่านผู้ที่ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน โดยใช้กระบวนการสัมภาษณ์ และ 3.การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลจากการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกลไกร่วมที่สำคัญในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้ทำหน้ากระตุ้นให้เกิดการสร้างพื้นที่กลางเพื่อให้กลุ่มคนต่างๆ เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดการปัญหาในเชิงนโยบาย และปฏิบัติการในระดับพื้นที่ร่วมกัน ในมิติที่ตั้งอยู่บนต้นทุนของท้องถิ่นนั้นๆ 2. ชุดองค์ความรู้ที่สำคัญของการจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชน ต้องอาศัยความรู้ในการปฏิบัติการที่เชื่อมโยงกับอำนาจของท้องถิ่น ผ่านการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยต้องสะท้อนให้เห็นความสำคัญในเชิงหลักคิดที่สำคัญคือ การกระจายอำนาจ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการจัดการทรัพยากรให้ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anderson, LS., & Sinclair, FL. (1993). Ecological Interactions in Agroforestry Systems. Agroforest Abstracta.

Cheema, S. G., & Rondinelli, D. A. (2007). Decentralizing Governance Emerging Concept and Practices. Washington: ASH Institute for Democratic Governance and Innovation, John F. Kennedy School of Government, Harvard University.

Foundation for the Promotion of Public Policy Studies. (1991). Forest and Fact: Solution and Suggestion. White Book No. 4. Parliamentary Committees. The Social Science Association Thailand.

Laovakul, Duangmanee. (2013). Concentration of Wealth in Thai Society under Project of Toward Equity Thai Society and Structure Reform. Thailand Science Research and Innovation.

Mackalaphirom, P., Thanavorapong, T, & Chairat, B. (2015). Study Research to Improve Policies and Laws That Violate Human Rights in Natural Resources Land and Forest. Institute of Human Right and Peace Studies, Mahidol University.

Office of Registration Administration. (2019). Sathiti Læ Chamnuan Prachakon Nai Changwat Maesongson Na Duan Karakadakhom Pho So Chamnaek Tam Amphœ [Statistics and Population in Mae Hong Son Province of July 2019]. Mae Hong Son: Department of Provincial Administration.

Ongla, O. (2019). Thai State and Politics of Land and Forest Management In-Case of Mea Jam Model: Ideas, Movement, and Politics. (Doctoral Dissertation). Naresuan University.

Supasawad, Chardchawarn. (2002). Local Government and People Participation. Khrongkan Chat Phim Khop Fai. Bangkok.

______. (2012). Politic in Decentralization Process Study on the Role of Academic Bureaucratic Politician and Citizenship. Chulalongkorn University. Bangkok.

Vandergeest, P. & Nancy, P. (1995). Territorialization and State Power in Thailand. Theory and Society.

Wuttisan, Tanchai. (2009). Local Government Strategy. Bangkok: Expernetbooks.