ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บาร์โมเดลที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้บาร์โมเดลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนำทรัพย์ จำนวน 9 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้บาร์โมเดลจำนวน 8 แผน และ 2. แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาแบ่งเป็น แบบปรนัย 14 ข้อและแบบอัตนัย 3 ข้อ รวม 20 คะแนน โดยคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ นำมาคำนวณโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และร้อยละ แล้วนำร้อยละของคะแนนเฉลี่ยมาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้บาร์โมเดล นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาผ่านเกณฑ์เกณฑ์ร้อยละ 70 และนักเรียน ร้อยละ 88.89 สามารถดำเนินการแก้ปัญหาโดยใช้บาร์โมเดลได้อย่างถูกต้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Emmylou A. M. (2019). The Use of Bar Models in Solving Mathematical Problems: Its Effect on Academic Performance. Asia Pacific Journal of Multidisciplinary Research, 7(2), 10-16.
Inthasang, S. (2015). Teaching Problem Solving Using the Bar Model. The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), 43(194), 27-30.
Kunjaratanan, K. (2019). Study of the Ability to Create One Variable Linear Equations Based on Word Problems Among Mathayomsuksa One Students Using the Bar Model Method. Journal of Industrial Education, 18(2), 93-100.
Masraksa, T. (2019). The Development of Learning Management Model by Applying Bar Model with the Concept of Cooperative Learning to Promote Mathematics Problem Solving Ability of Prathomsuksa 2 Students. The 6th National Conference of Nakhonrachasima College 2019, 6, 530-541.
Ministry of Education. (2017). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Department of Curriculum and Instruction Development.
Osman, S. et al. (2018). Enhancing Students’ Mathematical Problems-solving Skills Through Bar Model Visualization Technique. International Electronic Journal of Mathematics Education, 13(3), 273-279.
Ruth, S., & Helen, F. (2015). Using the Singapore Bar Model to Support the Interpretation and Understanding of Word Problems in Key Stage 2. Proceedings of the British Society for Research into Learning Mathematics, 35(3), 114-119.
Tiangtrong, P. (2019). Using Bar Model Method to Solve Algebraic Problems Word Problems Linear Equations of One Variable and System of Linear Equations of Two Variables. Mathematical Journal 65, 700, 22-40.
Tumthong, B. (2012). Research Methodology in Curriculum and Instruction. Nakhonrachasima: Laemthong Hall.