นวัตกรรมการพัฒนาผู้ประกาศข่าวสู่การเป็นนักเล่าเรื่องยุคใหม่เชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

วิยดา พีรรัฐกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) ศึกษาหลักการเป็นผู้ประกาศข่าวและนักเล่าเรื่องยุคใหม่          (2) ศึกษาหลักธรรมที่ใช้สำหรับการบูรณาการกับการเป็นนักเล่าเรื่องยุคใหม่ (3) นำเสนอนวัตกรรมการพัฒนา ผู้ประกาศข่าวไปสู่การเป็นนักเล่าเรื่องยุคใหม่เชิงพุทธบูรณาการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสารและภาคสนาม โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์


ผลการศึกษาพบว่า 1) หลักการเป็นผู้ประกาศข่าวจะไม่สามารถพูดสิ่งที่นอกเหนือจากบท ไม่มีการแสดงความเห็นในเนื้อหาข่าว ส่วนการเป็นนักเล่าเรื่องยุคใหม่ จะเป็นการเล่าข่าวให้ง่ายฟังสนุก ใช้ลีลาการนำเสนอที่แตกต่างออกไป โดยใช้หลักการ Golden Circle ทำอะไร (What) ทำอย่างไร (How) และทำไปเพื่ออะไร (Why) และใช้กระบวนการเล่า 3 ขั้น คือ Intro เกริ่น Action เหตุที่ส่งผลกระทบ และ Climax จุดที่เปลี่ยนแปลง


2) ด้านหลักธรรมส่งเสริมการทำหน้าที่นักเล่าเรื่องยุคใหม่ ได้แก่ ไตรสิกขา อคติ4 และอิทธิบาท 4   โดยได้ออกแบบเครื่องมือ “การกรองสาร 5 ชั้น” คือ 1) การใช้สติอย่างเป็นขั้นตอนก่อนปลงใจเชื่อ 2) การใช้ศีลพิจารณาสิ่งไหนดี ไม่ดี โดยปราศจากอคติ 4 3) ระดับสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นกุศล โดยใช้อิทธิบาท 4 ทำงานถูกต้องและแก้ไขสิ่งผิดพลาด 4) มีจิตรู้เท่าทันเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น ใช้ปัญญา 5) พิจารณาตามปัญญา ให้ข่าวสารนั้นนำไปสู่ความดีงาม พัฒนาตน ส่งต่อเฉพาะเรื่องราวที่เป็นประโยชน์


3) นวัตกรรมการพัฒนาผู้ประกาศข่าวสู่การเป็นนักเล่าเรื่องยุคใหม่เชิงพุทธบูรณาการ ได้ออกแบบเป็นโมเดล STORYTELLER : บันได 11 ขั้นสู่การเป็นนักเล่าเรื่องเชิงพุทธบูรณาการ ดังนี้ 1) S - Simple เล่าเรื่องให้ง่าย 2) T - Truth คลายปมความจริง 3) O - Objectivity อิงความ 4) R - Reliability คงความเชื่อถือ
5) Y - Your Passion คือความปรารถนา 6) T - Thinking Mindfully พาจิตตั้งมั่น 7) E - Ethics แบ่งปันศีลธรรม 8) L - Laborious พยายามอย่าท้อ 9) L - Logic ยึดต่อเหตุผล 10) E - Education คนมากความรู้ และ 11) R - Relatability ดูความเกี่ยวโยง โดยบันไดทั้ง 11 ขั้นนี้ มีศีลเป็นพื้นฐานตั้งแต่ก้าวแรกถึงขั้นสุดท้าย จากนั้นใน 4 ขั้นแรก จะใช้อคติ 4 พิจารณาการนำเสนอ ควบคู่กับอิทธิบาท 4 ในการทำงาน และยกระดับเป็นขั้นของสมาธิและปัญญา ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาทีที่ตัดสินใจเล่าเรื่องออกไป เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในหน้าที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonsiripan, M. (2013). Introduction to Journalism: Philosophy and Concept. (2th ed). Bangkok: Thammasart University.

Center for Media Literacy. (2021). Literacy for the 21st Century: An Overview & Orientation Guide to Media Literacy Education. Retrieved July 3, 2021, from https://www.medialit. org/reading-room

Chawanthawat, F. (2021). 7 Storytelling Formulas That Will Make Your Brand Memorable. Retrieved November 21, 2021, from https://stepstraining.co/content/7-formula- storytelling

Kaewthep, K. (2013). Mass Communication Theory. Bangkok: Parbpim Printing.

Kokkreatkun, C. et al. (2018). Fake News: Problem and Challenge. Bangkok: NBTC.

Kuphongsak, A. (2022). Instructor Department of Broadcasting and Streaming Media Production Communication Art. Bangkok University. Interview. April 10.

Mahachulalongkorn University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Maio, A. (2021). What is The Three Act Structure? No Formulas Necessary. Retrieved November 21, 2021, from https://www.studiobinder.com/blog/three-act-structure

Merrill, J. (2000). The Imperative of Freedom, Quoted in Bruce D.Itule, and Douglas A, Anderson, News Writing and Reporting for Today’s Media. Boston: McGraw-Hill College.

Nukao, K. (2022). News Anchor from ThairatTV. Interview. April 19.

Otsu, B. (2022). Director of the Doctor of Buddhism Program in Buddhist Communication Innovation. Mahachulalongkorn University. Interview. May, 31.

Phrakhrũ Pimolpaññãnuyut (Bhuñtã Indapaññã). (2017). A Buddhist Psychological Process of Self-Development for Awakening. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkorn University. Ayuttaya.

Si Quan Ong. (2021). Storytelling Formulas Doubling Word-Of-Mouth for Your Brand. Retrieved November 21, 2021, from https://www.referralcandy.com/blog/storytellingformulas

Sinek, S. (2009). Start with Why. London: Penguin Group.

Sodtanasatiean, S. (2013). Communication Theory. Bangkok: Rabiangthong Publishing House.