แนวทางการพัฒนากิจการโรงงานเพื่อเข้าสู่ธุรกิจสีเขียวในเขตพื้นที่จังหวัดเลย

Main Article Content

เยาว์ธิดา รัตนพลแสน
เหมวดี กายใหญ่
รวัฒน์ มันทรา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานกิจการโรงงาน             ในเขตพื้นที่จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากิจการโรงงานเพื่อเข้าสู่ธุรกิจสีเขียวของกิจการโรงงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเลย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินงานและหลักการใช้ทรัพยากรกับแนวทางการพัฒนากิจการโรงงานเพื่อเข้าสู่ธุรกิจสีเขียวของกิจการในเขตพื้นที่จังหวัดเลย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ กิจการโรงงานในเขตพื้นที่จังหวัดเลย จำนวน 200 โรงงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานกิจการโรงงานในเขตพื้นที่จังหวัดเลย   ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเป็นเพศชาย ช่วงอายุ 30 – 40 ปี วุฒิการการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ในการดำเนินกิจการ 5 - 10 ปี ในส่วนของการประกอบกิจการระยะเวลาในการดำเนินกิจการโรงงาน 1 - 3 ปี รายได้จากการดำเนินกิจการเฉลี่ยต่อเดือน 100,000 - 150,000 บาท ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมการผลิต     เงินลงทุนในการประกอบกิจการอยู่ระหว่าง 1,000,000 - 2,000,000 บาท จำนวนแรงงานในโรงงาน 50 - 100 คน 2) รูปแบบการดำเนินงานของกิจการโรงงานในเขตพื้นที่จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับ  ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าระดับความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า รองลงมา คือ ด้านทรัพยากรหลัก ด้านช่องทางเข้าถึงลูกค้า ด้านกลุ่มลูกค้า ด้านกิจกรรมหลัก ด้านคุณค่าของสินค้าและบริการ ตามลำดับ 3) หลักการใช้ทรัพยากรของกิจการโรงงานในเขตพื้นที่จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเปลี่ยนความคิด รองลงมา คือ ด้านการลดการใช้งาน ด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ ตามลำดับ 4) แนวทางการพัฒนากิจการโรงงานเพื่อเข้าสู่ธุรกิจสีเขียวในเขตพื้นที่จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รูปแบบ การจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเพื่อสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการสีเขียว ตามลำดับ 5) รูปแบบการดำเนินงานและหลักการใช้ทรัพยากรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแนวทางการพัฒนากิจการโรงงานเพื่อเข้าสู่ธุรกิจสีเขียวในเขตพื้นที่จังหวัดเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonyasirinan, L.(2015). Factors Influencing Business Development Approaches to Enter Sustainable Environment-Friendly Businesses in the Country. Panyapiwat Journal, 7(1), 1-10.

Department of Industrials Works. (2017). Industry Law 1992. Retrieved July 28, 2017, from http://www.diw.go.th

______. (2017). Guide to Green Industry. Retrieved July 28, 2017, from http://www.greenindustry.go.th/.go.th

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Khumhome, B. (2014). Factors Influencing the Discission to Join Green Industry Project of Ubonratchathani Entrepreneurs. Panyapiwat Journal, 5(Special), 92-104.

Lalaeng, C. (2015). The Causal Relationship and Effect of Green Innovation Strategy: An Empirical Evidence of ISO 14000 Certified Manufacture Industry in Thailand. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Loei Provincial Industrial Office. (2017). Report on Industrial Investment Movements of Loei Province. Retrieved February 21, 2019, from http://www.industry.go.th/loei/index.php/contacts

Loei Provincial Office. (2021). Order of the Province of Loei No. 56-2564 Regarding the Temporary Closure of the Place. Retrieved January 9, 2021, from https://www.covid.loei.go.th

Office of the National Economics and Social Development Council. (2017). National Economic and Social Development Plan the Eleventh Issue, 2012 – 2016. Retrieved July 25, 2017, from http://www.nesdb.go.th

Pratumphithak, S. (2018). The Impact on the Community Caused by the MIE Project Developed Coastal Areas of the Eastern Region: The Case of Map Ta Phut Municipality in Muang Rayong. Pathumthani University Academic Journal, 10(2), 82-89.

Rattanawan, J. (2019). Factors Affecting Decision to Participate in Green Industry Project of Factories in the Southern Region. (Master’s Thesis). University of the Thai Chamber of Commerce. Bangkok.

Sang-on, N. (2015). Summary Report on The Performance of Government Agencies in the Region of Civil Servants in the Project of Developing New Generation Change Managers, Class 8, Individually. Retrieved July 21, 2017, from https://www.igpthai.org/

Tasri, T. et al. (2011). Business Guidelines under the Business Concept Green for Small and Medium Enterprises. The Journal of Faculty of Applied Arts, 4(2), 19-27.

Tantayanont, R. (2016). Green Business Model. Retrieved July 21, 2017, from https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637097