รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

Main Article Content

ธนชน กุดหอม
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ
จำเนียร พลหาญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสุขภาวะผู้เรียนฯ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสุขภาวะผู้เรียนฯ 3) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาสุขภาวะผู้เรียนฯ และ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะผู้เรียนฯ กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีผู้ทรงคุณวุฒิ ครู ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมจำนวน 551 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 7 ประเภท ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบประเมิน 3) แบบสอบถาม 4) แบบบันทึก 5) แบบประเมินรูปแบบ 6) แบบประเมินผู้เรียนก่อนและหลังการพัฒนา และ 7) แบบประเมินความพึงพอใจของการใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (gif.latex?\bar{x}) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสุขภาวะผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 5 องค์ประกอบ 25 ตัวชี้วัด มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.65, S.D. = 0.56) 2) สภาพปัจจุบันโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}  = 3.38, S.D. = 0.37) และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.83, S.D. = 0.01) ดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง (PNI modified = 0.31 - 0.77) คือ    ด้านจิตสาธารณะ และด้านการปรับตัวเข้ากับสังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 3) ผลการสร้างรูปแบบ มี 6 ส่วน ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) วิธีการดำเนินงาน (5) สื่อ/แหล่งเรียนรู้ และ (6) การประเมินผล และผลการประเมินรูปแบบ มีด้านความเป็นประโยชน์ มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.97, S.D. = 0.07) รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสม มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.87, S.D. = 0.13) และด้านความเป็นไปได้ มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.85, S.D. = 0.10) 4) ผลการทดลองใช้ พบว่า หลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ เท่ากับ 99.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับความพึงพอใจในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.47, S.D. = 0.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Blackburn, J. (2001). Authentic Learning and Teacher Evaluation. Retrieved February 18, 2010, from http//www.JUEDNE/!!J.htm

Ekakul, T. (2000). Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University.

Erawan, P. (2018). Teacher Production System Using Health Schools as The Base. Journal of the Faculty of Education, 1(1), 27-31.

Kaewkangwan, S. (2006). Psychology of Life Development at All Ages. Bangkok: Department of Psychology Faculty of Arts Thammasat University.

Khamanee, T. (2015). Pedagogical Science: Knowledge for Effective Learning Process Management. (19th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ministry of Public Health. (2018). Introduction to Self-Care Manual. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited.

Moreno, A. M., & Casillas, J. C. (2007). High-growth SMEs Versus Non-high-growth SMEs: A Discriminant Analysis. Enterpreneurship and Regional Deveiopment, 19(1), 89-88.

Office of the Health Promotion Fund. (2009). The Statute on Health Systems, 2009. Nonthaburi: Wiki Co., Ltd.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). National Strategy 2018 – 2037. (2nd ed.). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

Rattanaubol, A. (2004). The Process of Training in Non-formal Education. Bangkok: People's Company Limited.

Rueandee, W. (2007). Techniques and Strategies for Developing Student-centered Learning Management Thinking Skills. Nakhon Pathom: Faculty of Education Silpakorn University.

Sonam, S. (2018). The Model of Health Development of Students in Small Elementary Schools. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Sriring, S. (2014). The Development of a Health Assessment Model of Secondary Schools. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Suthirat, Ch. (2014). The Art of Teaching for 21st Century Learners. Bangkok: Book Center Chulalongkorn university.

Tewanarumitkul, P. (2016). Education to Build Citizens. Bangkok: Thammasat University.

Udomphot, P., & Siriwong, P. (2013). Meaning Origin of Meaning and the Practice Guidelines for Being a Good Citizen of Mathayomsuksa 6 Students at Nakhon Pathom Municipal Sports School Nakhon Pathom Province. Veridian E-Journal, 6(3), 431-442.

Wasee, P. (2000). Health as a Human Ideology. (3rd ed.). Nonthaburi: Office Health Reform.

World Health Organization. (‎1997)‎. The World Health Report: 1997: Conquering Suffering, Enriching Humanity/Report of the Director-General. Retrieved March 19, 2022, from https://iris.who.int/handle/10665/41900?&locale-attribute=pt

Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.