รูปแบบการสื่อสารของพยาบาล โรงพยาบาลเลิดสิน โดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

สุรางค์ ตันติวิญญูพงศ์
พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหาการสื่อสารของพยาบาล โรงพยาบาลเลิดสิน และหลักการสื่อสารที่ดี 2) ศึกษาหลักธรรมในการสื่อสารที่ดีของพยาบาลกับผู้มาใช้บริการ ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) นำเสนอรูปแบบการสื่อสารของพยาบาล โรงพยาบาลเลิดสิน โดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 29 ท่าน และการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1. การสื่อสารแบบทางเดียวและสองทางเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาล สภาพปัญหาการสื่อสารพบว่า ด้านผู้ส่งสาร มีการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา ขาดการวิเคราะห์ปัญหา ขาดการสื่อสารอย่างมีระบบ ด้านผู้รับสาร ขาดการรับฟังที่ดี ด้านเนื้อหาขาดความชัดเจน ขาดแนวทางปฏิบัติที่ตรงกันในการให้ข้อมูล และช่องทางการสื่อสาร มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ เมื่อศึกษาหลักการสื่อสารที่ดีพบว่า ควรเลือกผู้รับสาร สื่อสารในสถานที่ เวลา ปริมาณ และใช้ภาษาที่เหมาะสม สุภาพ ยิ้มแย้ม สื่อสารความจริง มีประโยชน์ จริงใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีสติในการกำกับตัวเอง เมื่อรับสารสื่อสารสองทางและทวนซ้ำ รับฟังอย่างตั้งใจ และหาทางช่วยเหลือ ใช้เนื้อหาที่สั้นกระชับ ถูกต้อง เป็นข้อความ เชิงบวก เข้าใจง่าย ตรงประเด็น เป็นสื่อสร้างเสริมสุขภาพ สร้างช่องทางการสื่อสารให้หลากหลาย ถูกที่ ถูกเวลา ดึงดูดความสนใจ เหมาะสมกับผู้รับสาร ควรสื่อสารเชิงรุกโดยมีคณะทำงานจัดระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาด้านการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง 2. การศึกษาหลักธรรมในการสื่อสารที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า “หลักวาจาสุภาษิต” ประกอบด้วย กาเลน ภาสิตา (พูดถูกกาล) สจฺจา ภาสิตา (พูดคำจริง) สณฺหา ภาสิตา (พูดไพเราะ) อตฺถสญฺหิตา ภาสิตา (พูดสิ่งที่ก่อประโยชน์) เมตฺตจิตฺเตน ภาสิตา (พูดด้วยจิตเมตตา) เป็นหลักธรรมที่ก่อให้เกิดการสื่อสารที่ดี 3. ผลการศึกษาหลักการสื่อสารที่ดีของพยาบาล โรงพยาบาลเลิดสิน และการศึกษาหลักธรรมเพื่อการสื่อสารที่ดีในพระพุทธศาสนา สามารถนำมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบการสื่อสารของพยาบาล โรงพยาบาลเลิดสิน โดยพุทธสันติวิธี ชื่อ “SURANG model” ซึ่งประกอบด้วย S: Smiling with goodwill and empathy (ยิ้มแย้มด้วยมิตรไมตรี ใส่ใจ สุภาพ มีจิตเมตตา ห่วงใย เอาใจเขามาใส่ใจเรา และพร้อมช่วยเหลือ) U: Urgency (สารที่สื่อต้องสั้น กระชับ เข้าถึงได้รวดเร็ว) R: Responsibility (รับผิดชอบ สื่อสารข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองว่าถูกต้อง เหมาะสมกับผู้รับสาร) A: Awareness (มีสติในการกำกับตัวเอง ใส่ใจ พร้อมรับฟังอย่างตั้งใจ) N: Notify on the right time (เลือกผู้รับสาร เวลา สถานที่ ให้เหมาะสม) และ G: Giving healthy information (ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในเชิงบวก และขอความร่วมมือ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Announcement of The Nurses’ Association of Thailand under The Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Srinagarindra: NAT). (2003). Nursing Ethics, 2003 Edition. Retrieved May 3, 2020, from http://nu.kku.ac.th/thai/images/doc/person/law_eth002.pdf

Buoloon, F. (2017). An Integration of Buddhist Communication for Patient of Nakornping Hospital, Chiang Mai Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

McGilton, K., Robinson, H. I., Boscart, V., & Spanjevic, L. (2006). Communication Enhancement: Nurse and Patient Satisfaction Outcomes in a Complex Continuing Care Facility. Journal of Advanced Nursing, 54(1), 35-44.

Na Nakorn, S. (2019). A Process of Communication for Building Peaceful Organization by Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Paothipchan, K., Pinchaleaw, D., & Puttapitukpol, S. (2015). The Relationships Between Communication Skills, Safety Competency, and Patient Safety Management of Staff Nurses at an Autonomous University Hospital in Bangkok Metropolis. Journal of The Police Nurse, 4(1), 210-222.

Phrakru NiyomJantapho. (2010). The Application of Proverbs, as Indicated in Mangala Sutta, to the Current Thai Society Situation. (Master’s Thesis). Mahachulalongkorn-rajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramethithammaphon. (1994). Special Lecture at Communication Arts. Thammasat University by Dr. Saman Ngamsanit, Desirable Communication Based on Buddhism. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Sheldon, L. K., Barrett, R., & Ellington, L. (2006). Difficult Communication in Nursing. Journal of Nursing Scholarship, 38(2), 141-147.

Sompong, S. (2016). A Critical Analysis of Communication Pattern for Peace in the Online Media by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Komchadluek.Net. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Sriwichai, P., & Limprasert, K. (2019). Communication Behavior among Professional Nurses at General Hospital in Phayao Province. Journal of Nursing and Health Care, 37(1), 138-147.

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). (2018). Personnel Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018. Nonthaburi: The Healthcare Accreditation Institute (Public Organisation).

Wattanasathiensin, P. (2016). Factors that Affect Communication Problems within an Organization: A Case Study of United Standard Terminal PCL. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Yamsuan, N. (2014). A Critical Analysis of Communication Pattern for Peace in the Online Media by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Komchadluek.Net. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.