นวัตกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กและพื้นที่ห่างไกล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) นำนวัตกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้กับสถานศึกษาขนาดเล็กและพื้นที่ห่างไกล 3) ยืนยันนวัตกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นสถานศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดน่าน จำนวน 7 แห่ง ยืนยันรูปแบบโดยอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการจัดสัมมนาในการสร้างนวัตกรรม คู่มือโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) นวัตกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กและพื้นที่ห่างไกลที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) ด้านบริหารจัดการ 2) ด้านการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากร 3) ด้านสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ 4) ด้านภาวะผู้นำร่วม 5) ด้านการจัดการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 6) ด้านการนำผลการเรียนรู้ไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ผลการดำเนินงานก่อนการพัฒนา อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (= 4.34, S.D.=0.61) หลักการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (=4.50, S.D.=0.59) เพิ่มขึ้น +0.13 2) นำนวัตกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กและพื้นที่ห่างไกล ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ยืนยันสร้างนวัตกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กและพื้นที่ห่างไกล พบว่า เป็นพหุองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และมีความถูกต้องครอบคลุมตามทฤษฎี คิดเป็นร้อยละ 100
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Battersby, S. (2015). The Culture of Professional Learning Communities and Connections to Improve Teacher Efficacy and Support Student Learning. Arts Education Policy Review, 116(1), 22-29.
Chaibang, W. (2017). PBL Like Nok Kala School. Retrieved January 19, 2021, from http://lamplaimatpattanaschool.blogspot.com/2012/07/blog-post_21.html.
Dechakup, P., & Yindeesuk, P. (2018). Learning to Integrate with PLC for Development. Bangkok: Chulalongkorn University.
DuFour, R. (2007). Professional Learning Communities: a Bandwagon, an Idea Worth Considering, or Our Best Hope for High Levels of Learning?. Journal of Middle School (J1), 39(1), 1-7.
Hord, S.M., Roussin J, L., & Sommers, W. A. (2010). Guiding Professional Learning Communities: Inspiration, Challenge, Surprise, and Meaning. Thousand Oaks, CA: California Corwin Press.
Limprasong, N. (2020). Model to Drive of the Professional Learning Community Process. Journal of MCU Peace Studies, 8(5), 1959-1972.
Limprasong, N. (2020). Report on the Performance of Teacher Development Coupon Project Management Course Teacher Learning 4.0: Cross-Learning Integration to Innovation. Journal of MCU Peace Studie, 8(Supplemental Issue), 251-268.
Martin, M. (2011). Professional Learning Communities. In Contemporary Issues in Learning and Teaching. London: SAGE Publication Ltd.
Panich, V. (2012). Ways to Create Learning for Students in the 21st Century. 2nd edition. Bangkok: Siam Commercial Foundation.
Stoll toll, L., & Louis, K.S. (2007). Professional Learning Community. New York: Open University Press.
Theparee, P., & Patphol, M. (2014). A Development of Professional Learning Community Model for The Primary School Teachers. Silpakorn Educational Research Journal, 6(2), 284-296.