กระบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหิน ของ “ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ”

Main Article Content

นวภัทร โตสุวรรณ์
วีระ หวังสัจจะโชค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่การรวมกลุ่มการเคลื่อนไหว 2) รูปแบบวิธีการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหินของ “ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ” เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่และใช้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหิน จำนวน 19 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง และวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้การบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่นำไปสู่การรวมกลุ่มการเคลื่อนไหวเกิดจาก ประชาชนวิตกกังวลกับการดำเนินงานของเหมืองแร่ฯ ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนรอบเหมือง และมีความคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในชุมชนรวมถึง ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นจากขยะ ปัญหาดินเค็ม ปัญหาด้านสาธารณสุข และสาธารณูปโภคและบริโภค และการขาดความโปร่งใส่ในการแสดงความคิดเห็น จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่ออกมาคัดค้านการดำเนินโครงการดังกล่าวฯ 2) รูปแบบวิธีการเคลื่อนไหว โดยมีการต่อสู้ที่หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ วิธีการต่อสู้ตามช่องทางการเมืองปกติ เช่น การยื่นหนังสือผ่านกลไกของหน่วยงานของรัฐ การต่อสู้ผ่านโดยสิทธิตามกฎหมาย วิธีการขัดขวางท้าทายและการกดดัน เช่น การประชุมนุมเดินขบวนประท้วง วิธีการต่อสู้ใช้สื่อสารกับสาธารณะและวิธีการสร้างเครือข่าย เช่น การรณรงค์ในเขตชุมชน ความพยายามในการสื่อสารผ่านสื่อสังคมต่างๆ สะท้อนความพยายามในการแย่งชิงพื้นที่สื่อ และการสร้างเครือข่ายผ่านสังคมโซเชียลมีเดีย กับกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ

Article Details

How to Cite
โตสุวรรณ์ น., & หวังสัจจะโชค ว. . (2023). กระบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหิน ของ “ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(5), 1811–1824. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/262583
บท
บทความวิจัย

References

Chaaowattana, H. (2003). Communication Process of Local People Against the Thai Malaysia Gas Pipeline Project. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Chaiphet, C. (2018). Political Movements of the People's Sector in Phrae Province. Walailak Procedia, 2018(4), 1-8.

Chantavanich, S. (2020). Qualitative Research Methods. (18th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Charoensin-o-larn, C. (2002) Development Discources: Power, Knowledge, Truth, Identity and Otherness. Bangkok: Vibhasazine.

Charoensin-o-larn, C. (2002). New Social Movements. Bangkok: Wip̣hasa Printing.

Eco-Culture Study Group. (2007). Keep an Eye Out for 7 Potash Mines in the Northeast. Retrieved June 16, 2022, from http://www.oknation.net/

Ecological Alert and Recovery - Thailand (EARTH). (2014). Potash Mining, Chaiyaphumi Province. Retrieved February 19, 2022, from https://www.earththailand.org/th/ pollution/8/

Inkaew, K., Sriyaranya, S., Pintobtang, P., & Lapthananon, P. (2020). The Dynamics of Environmental Movements in Civil Politics. Social Sciences Journal, 10(3), 585-602.

Janjula, N. (2017). Utokvibhatprasit Irrigation Gate Management on the Household Economy of Artisanal Fishing. Journal of Environmental Management, 13(2), 18-33.

Kamudhamas, J., & Klongdumnoenkit, S. (2017). Environmental Governance and the Remarks on the Case of ASEAN Potash Mining, Chaiyaphumi Province. Governance Journal, 6(1), 151-184.

Keawkao, J. (2012). Democracy and the Protection of Community Resources. Bangkok: October 14 Foundation.

Kitschelt, H. (1986). Political Opportunity Structure and Political Protest: Anti-Nuclear Movements in Four Democracies. British Journal of Political Science, 16(1), 57-85.

Olson, M. (1965). The Logic of Collective Action. USA: Harvard University Press.

Pharcharuen, W. (2018). The People’s Movement on their Resistant to Solid Waste Disposal Plant in Baan Pa Tung Noi, Pa Da District, Doi Saket, Chiangmai Province. Journal of MCU Peace Studies, 6(2), 431-444.

Prachatai. (2022). The Korat Administrator Court Dismissed the Case Against the Chaiyaphum Potash Mine, Bamnet Narong Villagers Continue to Fight Do Not Allow Mining in the Area. Retrieved February 10, 2022, from https://prachatai.com/journal/2021/12/96606

Praditsil, C. (2012). Research Methodology. (Master’s Thesis). Rambhai Barni Rajabhat University Chanthaburi.

Ratme, N. (2012). The Power of Marginal People: A Case Study of the Movement in the Areas of Isan Potash Mines. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

The Isaan Record. (2018). Bamnet Narong Residents File a Lawsuit Against EIA Power Plant. Retrieved February 10, 2022, from https://theisaanrecord.co/2018/06/14/eia-coal-mining-chai-ya-phom/

Thongpan, S. (2016). The Social Movement Tactics of the "Protesting Against Kaeng Sue Ten Dam Group". PSDS Journal of Development Studies, 13(2), 46-82.

Wongkul, P. (1997). Media Crisis in the Era of News Imperialism. Bangkok. (Copy)

Wongsatjachock, W. (2021). Relationships of Large-Scale Farming Scheme and Political Regime from 2014 to 2018: A Case Study of Large-Scale Farming in the Eastern Region, Thailand. Political Science and Public Administration Journal, 12(2), 1-22.