การสังเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ 2) สังเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ อภิมาน 3) สังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณาอภิมาน โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2563 จำนวน 145 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ตารางไขว้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะงานวิจัยทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศของวิทยานิพนธ์ที่นำมาสังเคราะห์ พบว่า การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพงานวิจัย โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย ประกอบด้วย คุณลักษณะด้านการพิมพ์ คุณลักษณะด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย และคุณลักษณะด้านระเบียบวิธีวิจัย สามารถร่วมทำนายคุณภาพของงานวิจัยได้ร้อยละ 63 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. การสังเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์อภิมาน พบว่า 1) ค่าอิทธิพลของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรก่อนปรับแก้เท่ากับ 0.36 และหลังปรับแก้ เท่ากับ 0.41 มีค่าความสัมพันธ์ทิศทางบวกขนาดปานกลาง 2) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าดัชนีมาตรฐาน ประกอบด้วย คุณลักษณะด้านการพิมพ์ คุณลักษณะด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย และคุณลักษณะด้านระเบียบวิธีวิจัย สามารถร่วมทำนายคุณภาพของงานวิจัยได้ร้อยละ 67 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน พบว่า สาเหตุและผลที่ได้จากการสังเคราะห์รายงานวิจัยตามหลักการวิเคราะห์ชาติพันธ์วรรณนาอภิมาน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านกระบวนการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ปัจจัยด้านลักษณะและกระบวนการปฏิบัติงานของครู 3) ปัจจัยด้านลักษณะของผู้บริหาร และ 4) ปัจจัยด้านลักษณะและกระบวนการดำเนินงานของนักเรียนครอบครัว และชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chamornman, U. (2019). Research Synthesis: Quantitative. Bangkok: Fanny Publishing.
Hunter. J. E., & Schmidt, F. L. (1990). Methods of Meta-Analysis. Newbury Park: Sage Publications, Inc.
Jongwisan, R. (2016). Leadership, Theory, Research and Approach to Development. (3rd ed.). Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.
Kajornsin, B. (2007). Analysis and Interpretation of Research Data Using Packaged Program with SPSS for Windows Version. Bangkok: S.P.N. Printing.
Office of the Basic Education Commission. (2010). Guidelines on the Best Practice for Quality School. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Office of the Council of State. (2002). National Education Act B.E.2542 (1999). Bangkok: Office of the Council of State.
Santhasanasuwan P. (2016). Meta-Analysis of Master’s Thesis of Communication Arts in Bangkok University. (Master’s Thesis). Graduate School, Bangkok University. Bangkok.
Sinlarat, P. (2015). Creative and Productive Educational Philosophy. Bangkok: Chulalongkorn University.
Vaccarezza, A., & Rizzi, G. (2014). Change Management Dashboard: An Adaptive Approach to Lead a Change Program. Journal of People & Strategy, 37(1), 48-50.
Wiratchai, N. (2009). Meta Analysis. Bangkok: Bangkok: Chulalongkorn University.