การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อการสื่อสารอย่างสันติสุขกับผู้สูงวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการสื่อสารอย่างสันติสุขกับผู้สูงวัยตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักสติในการสื่อสารตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักสติในการสื่อสารกับผู้สูงวัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และอภิปรายผลด้วยวิธีอุปนัย
ผลการศึกษาพบว่า 1) การสื่อสารอย่างสันติสุขกับผู้สูงวัย ทั้งในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับสาร ต้องรู้จักการใช้สารที่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงวัย การส่งสารที่เป็นทั้งวัจนภาษา อวัจนภาษา รวมถึงช่องทางการส่งสารออนไลน์ โดยใช้การสื่อสารอย่างสันติด้วยการสังเกต รู้สึกต้องการ ขอร้อง 2) สติในทางพระพุทธศาสนาใช้ในการกำกับการสื่อสาร 5 ประการ 1. สื่อสารในเวลาที่เหมาะสม 2. สื่อสารด้วยคำจริง 3. สื่อสารด้วยความสุภาพไพเราะ 4. สื่อสารเรื่องที่มีประโยชน์ 5.สื่อสารด้วยจิตที่มีเมตตา โดยคำนึงถึงความรู้สึกและความพร้อมของผู้ฟังเป็นสำคัญ 3) การประยุกต์ใช้หลักสติในการสื่อสารอย่างสันติสุขกับผู้สูงวัยอย่าง มี 2 ระดับ ได้แก่ 1. สติในการสื่อสารกับตนเองในการระลึกรู้คุณของผู้สูงวัย 2. สติในการสื่อสารกับผู้สูงวัยในฐานะผู้รับสาร คือ การรับฟังอย่างลึกซึ้งด้วยความเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้สูงวัย ในฐานะผู้สงสาร คือ รู้วิธีการใช้สารที่เหมาะสมก่อนสื่อสารด้วยหลัก 5 ประการ คือ จริง ไพเราะ เหมาะกาล มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา ผ่านช่องทางทั้งที่เป็นวัจนภาษา อวัจนภาษา รวมถึงการสื่อสารออนไลน์ที่เข้าถึงผู้สูงวัยในยุคปัจจุบันเพื่อให้ผู้สูงวัยได้รับรู้ถึงความรักความห่วงใยซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สูงวัยต้องการจากคนในครอบครัวหรือบุคคลที่ใกล้ชิด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Assawadhammanond, C. (2018). Principles of Speech: Buddhism and Toastmaster. PAṆIDHĀNA Journal, 14(1), 32-54.
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2019). Situation of the Thai Elderly. Nakhonpathom: Mahidol University Institute for Population and Social Research.
Karseewong, W., & Kongthanachayopit, S. (2015). Communication with Elderly People Suffering from Depression. Journal of a Thai Journal of Nursing Council, 30(3), 5-14.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Mutukan, P. (2014). Mongkolchewit. (10th ed.). Bangkok: Pimwittaya.
Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2011). Buddhist Dictionary Glossary Edition. Bangkok: sahathanmik.
Phramaha Srisuporn Attadīpo. (2006). The Application of Subhāsitavācā as Found in the Khuddaka-nikāya to the Propagation of Buddhism. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Santawisuk, T. (2021). Deep Listening Helper Who Assist Your Life. Manpower Potential Development Institute. Journal for Eastern Economic Corridor, 1(2), 77-82.
Thongpradab, J. (2019). The Application of the Theory of Interpersonal Relations to Communicate with Older Adults Who Suffer from Depression. Journal of a Thai Red Cross Institute of Nursing, 12(1), 71-79.
Thummaku, D., & Siriwattanakul, T. (2015). Embrace: Love Touch Improved the Elderly Care. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 8(2), 1-12.
Wuttinant, P. (2020). Formats Family Counseling and the Elderly. Buddhist Psychology Journal, 5(2), 80-91.