บริบท ปัญหาและแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยชุมชน

Main Article Content

เทพสุดา จิวตระกูล
อังศินันท์ อินทรกำแหง
อัศรา ประเสริฐสิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สภาพปัญหาการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ผ่านการคัดเลือกตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ประเด็นและแบบบันทึกการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


1) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนส่วนใหญ่มีผู้ดูแลอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นลูกหลานหรือเขยสะใภ้ มีเพียงบางบ้านที่มีแค่ผู้สูงอายุอยู่ด้วยกันเอง และจะมี อสม.ดูแลร่วมด้วย รูปแบบการทำงานของ อสม.มี 2 รูปแบบใหญ่คือ การทำงานแบบเป็นทางการตามความรับผิดชอบของ อสม.ที่กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายไว้  โดยทำการเยี่ยมบ้านอย่างน้อยเดือนละ 4 ครั้ง และการทำงานที่ไม่เป็นทางการ ใช้ลักษณะความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการช่วยเหลือดูแล เช่น บ้านใกล้เรือนเคียง ความเป็นญาติพี่น้อง และการช่วยเหลือเกื้อกูลอนุเคราะห์ผู้สูงอายุบางบ้านที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมในบ้าน และปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ


2) แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยชุมชนมีดังนี้ ควรจัดให้มีการอบรมให้ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มเติมองค์ความรู้ที่ใช้ในการดูแล ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อม ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ดูแลควรมีความเห็นอกเห็นใจ และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้สูงอายุ การจัดสภาพแวดล้อมควรเป็นไปด้วยความประนีประนอม มีการปรึกษาร่วมกันกับผู้สูงอายุ และควรมี care manager ลงพื้นที่พร้อมกันเพื่อให้ความเห็นในเชิงอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Finn, S., & O’Follon, L. (2017). The Emergence of Environmental Health Literacy – From Its Roots to Its Future Potential. Environmental Health Perspectives, 125, 495-501.

Golden, R. N. et al. (2005). The Efficacy of Light Therapy in the Treatment of Mood Disorder: A Review and Meta-Analysis of the Evidence. American Journal of Psychiatry, 162(4), 656-662.

Help Age International. (2012). Ageing in 21st Century: A Celebration and Challenge. New York: UNFPA.

Institute for Population and Social Research. (2022). Population Material, Mahidol University. Retrieved June 15, 2022, from http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/Gazette.aspx.

Jeungsatiansup, K. (2016). Hospital Architecture and the Healing Environment. Nonthaburi: Suksala Publishing House Bureau of Social and Health Research.

Livesley, B. (1992). Diagnostic Difficulties in Elderly People: The Value of a Multidisciplinary Approach. Spectrum International, 30, 40-42.

Ministry of Public Health. (2015). Proper Environment Management for the Elderly. Nonthaburi: Ministry of Public Health.

Prasitimet, T., & Chawanapan, P. (2016). The Effectiveness of Caregivers of the Elderly with Dependency in the Long-Term Elderly Care System in the 4th Health District, Saraburi.

Press, G. (2007). Hospital Pulse Report: Patient Perspectives on American Healthcare. South Bend: Press Ganey Associate Inc.

Siriwanarangsun, P. (2015). Organize Environmental in Home Appropriately, Preventing the Elderly Fallen. Retrieved June 15, 2022, from https://www.hfocus.org/content/2015/08/10723.

The Royal Gazette. (2011). Regulations of the Ministry of Health on the Village Health Volunteers, B.E. 2554.

Ulrich, R. S. et al. (2008). A Review of the Research Literature on Evidence-Based Healthcare Design. Health Environments Research & Design Journal, 1(3), 61-125.