การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยสันติวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไทยเดิ้ง ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พระมหาณัฏฐ์ สติเวปุลฺโล
ขันทอง วัฒนประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท ประวัติ วัฒนธรรม ประเพณี สภาพปัจจุบัน ปัญหาการอยู่ร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์หลักสันติวัฒนธรรม และเพื่อเสนอการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนโดยสันติวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไทเดิ้งในจังหวัดนครราชสีมา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์อย่างมีสวนร่วม การสนทนากลุ่ม การประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (AIC) และ (SOAR) การร่วมสะท้อนกิจกรรม (AAR) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 33 คน 2) ชุมชนไทเดิ้งบ้านประสุข 40 คน


ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุมชนไทเดิ้งบ้านประสุข เป็นชุมชนเก่าแก่ถูกหล่อหลอมด้วยความเชื่อ        ทางพระพุทธศาสนา ทำให้มีทุนทางวัฒนธรรมที่ดี มีประเพณีแห่พระไม้ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีตัดจุกโกนผมไฟ เป็นต้น ปัจจุบันพบว่ามีปัญหาเรื่องความเห็นต่างทางการเมือง, ระยะห่างระหว่างวัย และขาดการ   มีส่วนร่วมในชุมชน 2.หลักสันติวัฒนธรรมบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมที่ควรนำไปปรับใช้ คือ 1) ทิฏฐิสามัญญตา 2) สีลสามัญญตา 3) ประชุมกันเนืองนิตย์ 4) พร้อมเพรียงกันประชุม 3.การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยสันติวัฒนธรรม มี 2 ระยะ คือ 1) สร้างกรอบแนวคิดกิจกรรมการมีส่วนร่วม 2) กิจกรรมสร้างการตระหนักรู้และจิตสำนึกกับชาวบ้านและเยาวชน ให้เห็นจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา สร้างความภูมิใจในท้องถิ่นของตน และกิจกรรมรวมพลังขับเคลื่อนชุมชน จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกติกาชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งทางกาย ทางสังคม ทางจิตใจ และทางปัญญา จนได้รูปแบบที่เรียกว่า “Tai Doeng Model”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chumpuang District Community Development Office, (2018). OTOP Tourism Community, Nawat Withi, Ban Prasuk, Prasuk Subdistrict. Retrieved May 30, 2021, from https://district.cdd.go.th/chumphuang/services/ชุมชนท่องเที่ยว-otop-นวัติวิถี-2/

Kasemsuk, C. (2018). Public Participation Approach for Sustainable Community Development. Academic Journal of Humanities and Social Sciences, 26(50), 183-184.

National Economic and Social Advisory Council, (2005). Forms and factors in community strengthening. Retrieved May 30, 2021, from https://www.ryt9.com/s/ryt9/24428

Phraathikan SomchayManeerat, PhramahaThongchai Thammathwee, Phramaha Khuntong Kaewsamutand, & PhraJaran Suwajo (2020). The Development of Buddhist Strengthening Community: A Case Study of Ban Woh, Laokwang Sub-district, Nonkhoon District, Sisaket Province. Journal of Graduate MCU Ubon Review, 5(1), 194-204.

Phramaha Jaroon Kitthipanyo, & Leeka, J. (2021). Building of Strength to Community in the Age of Thailand 4.0: A Case Study of the Strength-Community of Nong-Krungthanasan Sub-District Administrative Organization, Phu-Viang District, Khon Kaen Province. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 8(1), 189-201.

Phrapalad Boonmee Kunakaro. (2020). An Analytical Study of the Usage of Saraniyadhamma in Peaceful Living of Padang Besar Municipality, Songkhla Province. Journal of MCU Nakhondhat, 7(4), 140-141.

Siamrath Online, (2017). Develop a Community with a Spirit. Retrieved May 30, 2021, from https://siamrath.co.th/n/20728

Someran, L. (2018). Factors Influencing to the Strength of Community: The Case Study at AmporeSamchuk, Suphunburi. In Napat Watjanatepin, Ed. Documents for National Academic Conferences Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi The 1st RUSNC, (pp 629-637). Ayutthaya: Siri Asksorn Press.

Thongchai, S. (2020). Participation of the People in the Local Government Following Aparihaniyadhamma. Journal of MCU Loei Review, 1(2), 81-96.

Wat KaoPrasuk, (2020). History of Ban Prasuk.Retrieved May 30, 2021, from https:// www.facebook.com/WadKeaPraSukhTPraSukhXchumPhwngCnKhrRachsima/.

Wiyaboon, S., Yenjaima, R., & Ngamsnit, S. (2019). Application of Aparihãniyadhamma for Community Council Strengthening Management in Rayong Province. Journal of MCU Social Science Review, 8(4), 124-135.

Yodsurang, S., Sangtongluan, C., & Boonratmaitree, A. (2018). The Concept of Strengthening Community. Journal of Research and Development Institute, Maha Sarakham Rajabhat University, 5(2), 407-420.