รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล

Main Article Content

สุปรียา วิชิต
พงษ์ธร สิงห์พันธ์
นเรศ ขันธะรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการมีส่วนร่วม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วม 4) เพื่อนำเสนอผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ ครูผู้สอนและผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 297 โรงเรียน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มเป้าหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง โรงเรียนสังกัดศึกษาธิการภาค 14 จำนวน 1 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 21 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ โดยรวมสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมากและสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ มีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ (1) การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (4) การนิเทศการศึกษา และ (5) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี และ 4) ผลการนำเสนอผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ พบว่า ด้านความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
วิชิต ส. ., สิงห์พันธ์ พ. ., & ขันธะรี น. . . (2023). รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 607–618. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/261443
บท
บทความวิจัย

References

Ban Bung Charoen School. (2020). Internal Quality Assessment Report (SAR) at Ban Bung Charoen School Academic year 2020. Ubon Ratchathani: Ban Bung Charoen School.

Boonsuea, T. (2013). The Particpative School Management Model for Schools in Lopburi Primary Educational Service Area Office 2. Journal of Research and Development of Buriram Rajabhat University, 8(2), 44-50.

Lathapipat, D. (2011). Effects of Educational Responsibility Building on the Achievement of Thai Students. Bangkok: Thailand Development Research Institute.

National Institute of Educational Testing Service. (2010). O-NET Pointed Out the Crisis in Thai Education, Part 2. Bangkok: V.T.C. Communication LTD.

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. (2012). Factors Affecting Academic Achievement of Lower Secondary School Students. (Research Report). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand., LTD.

Oke, Adegoke, Munshi, Natasha, & Walumbwa, Fred O. (2009). The Influence of Leadership on Innovation Processes and Activities. Organizational Dynamics, 38(1), 64-72.

Pengnoo, K. (2007). The Basic Education Institution Administration as Juristic Schools of Education Institution Administrators under Nakhon Si Thammarat Educational Service Area Office 4. (Master’s Thesis). Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. Nakhon Si Thammarat.

Sanguannam, C. (2010). Theories and Practices in School Administration. (3rd ed.). Nonthaburi: Bookpoint.

Soontrayuth, T. (2008). Reformed Management: Theory, Research and Practice in Education. Bangkok: Natikul Press Co., Ltd.

Srichana, Y. (2015). The Development of the Participation Model for Informal Education Management in Secondary School under the Office of Basic Educational Committee. Journal of Education, Mahasarakham University, 9(4), 153-162.

Theriou, George N. (2009). Exploring the Best HRM Practices Performance Relationship: An Empirical Approach. Journal of Workplace Learning, 21(8), 614-618.

Wongsaensan, S. (2015). The Model of Participation in Educational Administration: Case Study Summasikkharatchathani Asoka School, Ubon Ratchathani Province. (Master’s Thesis). Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.