การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของพระนิเทศก์เพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทางศีลธรรมที่เข้มแข็ง

Main Article Content

พระศรีธรรมภาณี
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
พระมหานพดล ธมฺมานนฺโท
สุพิชฌาย์ เลาหะพานิช
เอกภพ พรหมสุทธิรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของพระนิเทศก์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของพระนิเทศก์เพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทางศีลธรรมที่เข้มแข็ง 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของพระนิเทศก์เพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทางศีลธรรมที่เข้มแข็ง ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติติการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พระสอนศีลธรรม จำนวน 71 รูป
ในพื้นที่ 4 ภาค เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างสร้างสรรค์ (AIC) การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และ การสะท้อนคิด


ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของพระนิเทศก์ มี 2 องค์ประกอบสำคัญ คือ (1) การพัฒนาพระนิเทศก์ คือ การมีโครงสร้างรับรอง ได้รับการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการคัดเลือกที่มีคุณภาพ ได้รับการส่งเสริมและให้กำลังใจ (2) การส่งเสริมสร้างการทำกระบวนการ PLC ด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การสร้างพื้นฐานการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาเชิงรุก 2การสร้างบรรยากาศความเป็นกัลยาณมิตรและความเป็นเครือข่าย การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำ PLC และการจัดสรรพื้นที่ที่เหมาะกับบริบทของพระนิเทศก์ 2) การสร้างรูปแบบการ
บริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของพระนิเทศก์เพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทาง


ศีลธรรมที่เข้มแข็ง ด้วยการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์แบบ Hybrid ได้แก่ ออนไลน์ ออนไซต์ 3 วัน ตามขั้นตอน AIC และการทำโครงการร่วมกันระหว่างพระนิเทศก์ พระบริหาร เพื่อพัฒนาพระสอนศีลธรรม3) ผลการใช้รูปแบบที่สร้างสามารถพัฒนาพระนิเทศก์ให้มีกิจกรรมสามารถเสริมสร้างองค์กรของพระนิเทศก์ได้ โดยอยู่บนพื้นฐานของการทำให้พระนิเทศก์สามารถ เขียนแผน สอน นิเทศ รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และเห็นคุณค่าของการทำ PLC ช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็งของพระนิเทศก์ องค์ความรู้จากการวิจัย เรียกว่า PLC Model ประกอบด้วย กระบวนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่อย่างมีระบบรองรับ กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างเครือข่าย กระบวนการสื่อสารเสริมพลังการทำงานเป็นทีม




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Srina, T., Srikrajarng, S., & Prakotang, J. (2019). Teachers Supervision Model for Development to Professional Teachers Affiliated to the Office Commission. Saint John’s Journal, 22(30), 19-35. Retrieved June 20, 2021, form https://sju.ac.th/pap_file/d0a1f8418e0516d9def618edb5399559.pdf

Chapanya, Y., Bunterm, T., & Pothivat, G. (2013). Teacher Empowerment in Primary School: viewpoint of those who staying in the phenomenon. Retrieved June 20, 2021, form http://bantungsan.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

Chueasamut, S. (2015). Competency Development Model of Morality Teaching by Monks in Secondary Schools. EAU Heritage Journal 92 Social Science and Humanity, 5(9), 86-99.

Prakru Palad Suwatthanabundithkun. (2015.) Following up and Evaluating on the Buddhist Monks’ Teaching Morality at Schools in Mahachulalongkornrajvidhayalaya University B.E. 2015 (Evaluation Report). Bangkok: Office of Buddhist Monks’ Teaching Morality, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.