รูปแบบการรู้เท่าทันสื่อจากการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ของผู้รับสาร ในพื้นที่เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน์
ภัสรา พงษ์สุขเวชกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อจากการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ของผู้รับสาร 2) เพื่อเปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อจากการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ของผู้รับสารในพื้นที่เขตสายไหมจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสารกับการรู้เท่าทันสื่อของการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ 4) เพื่อสร้างรูปแบบการรู้เท่าทันสื่อจากการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ของผู้รับสาร การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณสำรวจประชากรในเขตสายไหมที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก


ผลการวิจัยพบว่า 1) การรู้เท่าทันสื่อจากการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ของผู้รับสารควรมีทักษะ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาข่าวสารข้อมูล ความจริงที่นำเสนอ สื่อมีส่วนส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการรับข้อมูลข่าวสาร และการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร 2) เปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อจากการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ของผู้รับสารในพื้นที่เขตสายไหมจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ชนิดของเครื่องมือสื่อสาร ไม่มีความแตกต่าง อาชีพและความถี่ในการเปิดรับสื่อ มีความแตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข้อมูลข่าวสารกับการรู้เท่าทันสื่อของการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ อยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ด้านการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ และด้านการประเมินสื่อ 4) รูปแบบการรู้เท่าทันสื่อจากการนำเสนอข่าวในยุคคอนเวอร์เจนซ์ของผู้รับสารมีทักษะ การรู้เท่าทันความเป็นข่าว การรู้เท่าทันการเปิดรับสื่อ และการรู้เท่าทันสื่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anti-Fake News Center Thailand, Ministry of Digital Economy and Society. (2020). Fake News. (Online). Retrieved June 13, 2020, form https://www.antifakenewscenter.com

Electronic Transactions Development Agency, Ministry of Digital Economy and Society. (2021). Thailand Internet User Behavior 2020. Retrieved November 1, 2021, from https://www/etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

Kositpapat, O. (2016). News Reporting. Bangkok: Digital Publisher. Phranakhon Rajabhat University.

Livingstone, S. (2004). What Is Media Literacy? Intermedia, 32(3), 18-20.

Noosam, N. (2019). The Analysis of Fake News and the Level of Media Literacy of Users in Bangkok. Journal of Communication Arts. 37(1), 37-45.

Samuel, L. Becker. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.

Sascha, F. (2017). Digital Southeast Asia/Thailand in 2017 - An Overview. (Online). Retrieved October 19, 2021, from http://my-thai.org/digital-southeast-asia-thailand-2017-overview

Thailand Digital Stat (2021). We Are Social. Retrieved November 1, 2021, from https://www.everydaymarketing.co/knowledge/thailand-digital-stat-2021-we-are-social/

The Bureau of Registration Administration. (2019). Official Statistics Registration Systems. Retrieved April 24, 2020, from http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/stat INTERNET/#/

The Guardian. (2018). www.theguardian.com/international. Retrieved February 23, 2021, from https://www-khaosod-co-th.translate.goog/around-the-world-news/news_1399565

Thongneearkom, P. et al. (2016). Learning about Media. Bangkok: Samcharoen Panic.

Thongsuk, W. (2016). A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Wongrattana, C. (2001). Techniques in Using Statistics for a Research. (8th ed.) Bangkok: Thepneramit Printing.