แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในระบบเกษตรแปลงใหญ่แถบภาคอีสานใต้ตอนล่าง

Main Article Content

รวิฐา ทวีพร้อม
พงศ์ภัทร เกียรติประเสริฐ
แก้วตา บุญร่วม
รุ่งทิพย์ เกษตรสิงห์
สุเนตรา ทองจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในระบบเกษตรแปลงใหญ่ 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะกระบวนการผลิตที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำกำไรของเกษตรกรในระบบเกษตรแปลงใหญ่ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่มีการผสมผสานการวิจัยแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการในการบริหารจัดการ จำนวน 24 ราย และเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแปลงใหญ่ จำนวน 373 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหา มีดังนี้ ปัญหาด้านกระบวนการผลิตและค่าใช้จ่ายการผลิต แนวทางการแก้ปัญหา ได้แก่ ควรมีการบริหารจัดการน้ำ รณรงค์งดใช้สารเคมี ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญในสายระบบผลิต แนวทางการแก้ปัญหา ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการทำการเกษตรอย่างถูกต้อง มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกและนักวิชาการ ปัญหาด้านลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในตัวสินค้า แนวทางการแก้ปัญหา ได้แก่ การสนับสนุนการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าเกษตร และปัญหาด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวทางการแก้ปัญหา ได้แก่ การให้ความรู้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กับกลุ่มเกษตรกร 2) ด้านความสามารถในการบริหารจัดการ ด้านการบริการเชิงคุณภาพ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการทำกำไร มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับ 0.01 โดยมีประสิทธิภาพการพยากรณ์ เท่ากับร้อยละ 63.50

Article Details

How to Cite
ทวีพร้อม ร., เกียรติประเสริฐ พ. . ., บุญร่วม แ. ., เกษตรสิงห์ ร. . ., & ทองจันทร์ ส. . (2023). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในระบบเกษตรแปลงใหญ่แถบภาคอีสานใต้ตอนล่าง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(4), 1482–1494. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/260307
บท
บทความวิจัย

References

Boontham, N., Dumronggittigule, S., & Boonrahong, C. (2015). MART Village: A Model for Sustainable Community Development. Journal of Community Development and Life Quality, 3(3), 249-259.

Buapan, P., Sohheng, N., & Boonlue, N. (2018). The Implementation of the Extension Policy on Large Agricultural Land Plot Support System of Paddy Fields in Chachoengsao Province in the Fiscal Year 2016. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 13(3), 86-98.

Kongtanajaruanun, R., & Cheamuangphan, A. (2021). The Strength of Farmer Groups Participating in Large Agricultural Land Plots on Rice Farming in Chiang Rai Province. Journal of Agri, Research & Extension, 38(3), 182-193.

Leklang, S., Mankeb, P., & Limunggura, T. (2012). Factors Affecting the Decision Making on Organic Rice Production of Farmers in Surin Province. (Master’s Thesis). King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. Bangkok.

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2016). Operation Manual for Large-Scale Agricultural Extension Systems. Retrieved January 8, 2019, from http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER057/GENERAL/DATA0000/00000233.PDF

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2017). The Twenty-Year Agriculture and Cooperative Strategy (2017-2036) and the Five-Year Agriculture Development Plan under the Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved January 8, 2019, from https://www.opsmoac.go.th/strategic-files-401191791792

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2021). Agricultural Economic Outlook. Retrieved December 30, 2021, from https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/bappdata/files/Outlook%202564%20_2565%20(Final).pdf

Mumtaz, A., & Gopal, B. (2017). Review of the Agricultural Extension Modes and Services with the Focus to Balochistan, Pakistan. Journal of the Saudi Society of Agricultural Sciences, 8(2), 1-24.

National Statistical Office. (2018). National Statistical Office Reveal the Results of the 2018 Agricultural Change Survey. Retrieved Jan 18, 2019, from https://gnews.apps.go.th/news?news=44164

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Thirapong, K. (2017). The Large Agricultural Land Plot Program and the Context of Thailand’s Agriculture. Proceedings of the Conference on the Faculty of Economics (pp.49-64). Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Thitisutthi, S., & Kruekum, P. (2018). Factors Affecting the Farmers' Need for Organic Vegetables Promotion in the Maefaekmai Sub-District, Sansai District, Chaing Mai Province. Journal of Agricultural Research and Extension, 36(3), 86-95.

Thongdeerawisuraket, P. (2019). Factors Encouraging the Participation of Farmers Converting Agricultural Land in Kanchanaburi. Journal of Kanchanaburi Rajabhat University, 8(1), 107-119.

Thongya, P. (2017). The Importance of Service Quality for Business Success. Kasem Bundit Journal Volume, 18(1), 1-14.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.