ศักยภาพการแข่งขันของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพรและอาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ: วิเคราะห์ตามทัศนะของกลุ่มผู้ผลิต ในระบบอุตสาหกรรมตามแนวดิ่ง

Main Article Content

นลินี ทองประเสริฐ
กิตติมา จึงสุวดี
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช
อัยรดา พรเจริญ
อโณทัย หาระสาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินศักยภาพการแข่งขันและ 2) เพื่อเสนอแผนกลยุทธ์ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพรและอาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ วิเคราะห์ตามทัศนะของกลุ่มผู้ผลิตในระบบอุตสาหกรรมตามแนวดิ่ง โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่รวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยและอาหาร ประกอบด้วยอุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ เกษตรกร
ผู้เพาะปลูกสมุนไพร กลางน้ำ ได้แก่ ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และปลายน้ำ ได้แก่ ผู้ค้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสมุนไพร จำนวน 27 ราย โดยใช้การกำหนดตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้พัฒนาจากทฤษฎีระบบเพชรโดยกำหนดคะแนนประเมิน 4 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ คณะกรรมการคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพจังหวัดอำนาจเจริญ ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมระดมสมองด้วยวิธีสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายคลัสเตอร์มีศักยภาพในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีจุดแข็ง 2 ด้านคือ ในด้านปัจจัยการผลิตและปัจจัยในการดำเนินงานเช่นแรงงานหาง่าย ต้นทุนของแรงงานต่ำ สำหรับปัจจัยที่อยู่ในระดับปานกลาง มี 4 ด้าน คือ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ โครงสร้างและการแข่งขัน ปัจจัยด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน ปัจจัยด้านแนวโน้มหรือโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและปัจจัยด้านรัฐบาล 2) จากผลการวิจัยได้นำเสนอเป็นแผนกลยุทธ์ที่เน้นการสร้างคุณค่า ให้กับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหาร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเสริมสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบ ตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adamczyk, M., Betlej, A., Gondek, J., & Ohotina, A. (2019). Technology and Sustainable Development: Towards the Future? Entrepreneurship and Sustainability, 6(4), 2003-2016.

Amnat Charoen Provincial Office. (2021). Amnat Charoen Province Development Plan (2018-2022, Review Edition, B.E. 2021). Retrieved June 16, 2021, from http://www.amnatcharoen.go.th/index.php/2017-10-02-06-58-21/2018-06-05-01-47-41

Benito, G. B. (2003). A Cluster Analysis of the Maritime Sector in Norway. International Journal of Transport Management, 1(4), 203-215.

Biuksane, I. (2016). Model of the Factors Influencing Competitiveness of the Latvian Fisheries Sector Cluster. Economics and Business, 28(1), 76-82.

Boja, C. (2011). Clusters Models, Factors and Characteristics. Journal of Economic Practices and Theories, 1(1), 34-43.

Chairojwong, S. & Ngammaneeudom, C. (2018). Factors Affecting the Growth of SMEs in Manufacturing Sector of Thailand. Journal of Politics, Administration and Law, 10(2), 453-480.

Delgado, M., Porter, M. E., & Stern, S. (2010). Clusters and Entrepreneurship. Journal of. Economic Geography, 10(4), 495-518.

Ikram, A., Su, Q. Fiaz, M. & Rehman, R. (2018). Cluster Strategy and Supply Chain Management: The Road to Competitiveness for Emerging Economies. Benchmarking: An International Journal, 25(5), 1302-1318.

Krugman, P. (1991). Geography and Trae. London: MIT Press/Leuven UP.

Kuah, A. T. (2002). Cluster Theory and Practice: Advantages for the Small Business Locating in a Vibrant Cluster. Journal of Research in Marketing and Entrepreneurship, 4(3), 206-228.

Mahrinasari, M. (2019). Impact of Safety Concerns on a Lifestyle. Journal of Security and Sustainability Issues, 9(1), 269-280.

Phochathan, S. (2016). Capability Development of SMEs Through Cluster-Based Approach: Healthy Food Industrial Cluster in Nakhon Ratchasima Province. Ratchaphruek Journal, 14(2), 46-52.

Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. London: Macmillan.

______. (2000). Location Competition, and Economic Development: Local Cluster in a Global Economy. Economic Development Quarterly. 14(1), 15-34.

Sirinaphasphokin, S., Kesapradit, B., & Piyampongsanta, P. (2016). Thai Cosmetics Industry Competitiveness in Entering Asean Economic Community. Journal of Rangsit Graduate Studies in Business and Social Sciences, 4(2), 15-28.

The Office of the Board of Investment. (2015). The Future of Thailand Is Far Ahead with Cluster. Retrieved November 16, 2015, from http://chonburi.boi.go.th/public/upload/center_4/file/BOI-brochure-cluster%20area-TH-20151116.pdf

Viederyte, R., & Didziokas, R. (2014) Cluster Models, Factors and Characteristics for the Competitive Advantage of Lithuanian Maritime Sector. Economics and Management, 19(2), 162-171.