ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารคุณภาพหลักสูตรของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดทักษะการค้นหานวัตกรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 38 แห่งทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 38 แห่ง ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสาขาวิชาของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏและสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล คือ ประธานสาขาวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และนักศึกษา จำนวน 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลวิจัยพบว่า การจัดลำดับความต้องการจำเป็น พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน (PNIModified = 0.068) รองลงมา คือด้านผลผลิตและผลลัพธ์ (PNI Modified = 0.068) และด้านผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PNIModified = 0.062) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาทักษะการค้นหานวัตกรรม พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือทักษะการทดลอง (PNI Modified = 0.068) รองลงมา คือทักษะเครือข่ายความคิด(PNIModified = 0.064) และทักษะการตั้งคำถาม (PNIModified = 0.057) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Banchong, A. (2012). Thinking School. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Burke, A. (1999). Communication & Development: A Practical Guide. London: Social Development Division Department for International Development.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Dharakorn, C. (2014). The Dance from Concept of Trilaksana In Buddhism. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.
Dyer, J. H., Gregersen, H., & Chistensen, C. M. (2011). The Innovator’s DNA: Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators. Massachusetts: Harvard Business Review Press.
Harkins, A. M. (2008). Leapfrog Principles and Practices: Core Components of Education 3.0 and 4.0. Futures Research Quarterly, 24(1), 1-15.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kringkaew, N. (2008). Enhancement of Experimental Skill and Scientific Attitude Using Experiment Activities in Science Club. Ubon Ratchathani Province. (Master’s Thesis). Ubon Ratchathani University. Ubon Ratchathani.
Pactic, L. (1995). The Constructivist Learning Model. The Science Teacher, 56(June 1995), 413.
Sahney, S., Banwet, D.K., & Karunes, S. (2008). An Integrated Framework of Indicies for Quality Management in Education: A Faculty Perspective. The TQM Journal, 20(5), 502-519.
The American Association for the Advancement Science. (1990). Science for all Americans. New York: Oxford University Press.
Veerapot, L. (1998). Quality Control ISO 9002. Bangkok: Pow Voon Printing Limited Partnership.