กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านงานจราจรของสถานีตำรวจ ในสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ ด้านงานจราจร 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารด้านงานจราจร 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์ เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านงานจราจร โดยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จำนวน 201 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน 2) การพัฒนากลยุทธ์ โดยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน การประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน และ 4) การประเมินกลยุทธ์ โดยแบบประเมิน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ SWOT Analysis สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการ พบว่า มีการดำเนินการวางแผนในการปฏิบัติงาน กำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบชัดเจน มีการจูงใจ และมีการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงาน ส่วนด้านปัญหาการบริหารจัดการ พบว่า การมีส่วนร่วมเพื่อร่วมวางแผนด้านงานจราจรค่อนข้างน้อย สำหรับด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมส่งผลต่องานจราจร 2) กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ เพื่อใช้เป็นวิธีการ แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านงานจราจร ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ3) ผลการประเมินกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นได้ และความเป็นประโยชน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bangmo, S. (2019). Organization and Management. Bangkok: V. Print.
Kamphaeng Phet Provincial Police Headquarters. (2020). Action Plan Fiscal Year 2018 of Provincial Police. Retrieved June 3, 2018, from http://www.kamphaengphet police.go.th.
Kenchaiwong, N. (2018). Educational Management Strategies for Effective Inclusive Education in Secondary Schools under the Office of The Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon.
Khejarnan, N. (2009). Strategic Management. Bangkok: SE-ED.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Onnuam, R. (2019). Strategies for Domestic Wastewater Management In Kamphaeng Phet Province. (Doctoral Dissertation). Kamphaeng Phet Rajabhat University. Kamphaeng Phet.
Phakphaswiwat, S. (2010). Strategic Management. (20th ed.). Bangkok: Amarin.
Ratninpathomphak, N. (2020). Strategic Human Resource Management of Private Institution Types under the Jurisdiction of Nakhon Nayok Provincial Education Office. (Doctoral Dissertation). North Bangkok University. Bangkok.
Royal Thai Police. (2014). Policy of the Administration of the Royal Thai Police Year 2014. Bangkok: Royal Thai Police.
Royal Thai Police. (2018). Action Plan Fiscal Year 2019 of Royal Thai Police. Retrieved June 3, 2018, from https://www.royalthaipolice.go.th
Suksriwong, S. (2019). Management: From the Executive’s Viewpoint. (16th ed.). Bangkok: G.P. Cyberprint.