การบูรณาการตั้งเป้าหมายความสำเร็จด้วยโพธิสัตวจริยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตั้งเป้าหมายที่ดีและการมีบุคคลต้นแบบเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บุคคลประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตั้งเป้าหมายความสำเร็จในตามแนวคิดจิตวิทยาสมัยใหม่ 2) ศึกษาการตั้งเป้าหมายความสำเร็จตามแนวโพธิสัตวจริยา 3) ศึกษาวิธีบูรณาการแนวคิดการตั้งเป้าหมายความสำเร็จตามแนวคิดจิตวิทยาสมัยใหม่กับแนวคิดโพธิสัตวจริยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายพระภิกษุและฝ่ายคฤหัสถ์ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์และนำเสนอรูปแบบการตั้งเป้าหมายความสำเร็จด้วยโพธิสัตวจริยา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตั้งเป้าหมายความสำเร็จตามแนวคิดจิตวิทยาสมัยใหม่เริ่มจากการจินตนาการภาพความสำเร็จ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทาย การมองอนาคตและความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ การวางแผนที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน การลงมือทำทันที และการฟันฝ่าอุปสรรค ซึ่งการจะประสบความสำเร็จได้นั้นยังต้องอาศัยวิสัยทัศน์เชิงบวกและความเพียร 2) การตั้งเป้าหมายความสำเร็จตามแนวโพธิสัตวจริยาประกอบด้วยการปฏิบัติ 4 ประการคือ ความมุ่งมั่น ความรอบรู้ ความตั้งใจ และความเอื้อเฟื้อ โดยมีหลักธรรมสนับสนุนคือ สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 พรหมวิหารธรรม 4 สัปปุริสธรรม 7 และอินทรีย์ 5 3) เมื่อทำการสังเคราะห์การตั้งเป้าหมายความสำเร็จตามแนวคิดจิตวิทยาสมัยใหม่กับแนวโพธิสัตวจริยา จะได้รูปแบบของการตั้งเป้าหมายความสำเร็จด้วยโพธิสัตวจริยา สามารถแสดงได้เป็น IME Form ที่ประกอบด้วย ปัญญา ตั้งใจมั่น และความเพียร โดยเมื่อบุคคลใช้ IME Form ในการตั้งเป้าหมายความสำเร็จแล้ว จะทำให้เป้าหมายนั้นเป็นเป้าหมายที่ดี และการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตนเองและสังคมได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Blanchard, K., Zigarmi, P., & Zigarmi, D. (1985). Leadership and the One Minute Manager: Increasing Effectiveness Through Situational Leadership. New York: William Morrow and Company.
Hill, N. (1997). Keys to Success. (Translated by Pasongarsa). Bangkok: Sakdisopa Press.
Locke E. A., & Latham G. A. (2002). Building a Practically Useful Theory of Goal Setting and Task Motivation. American Psychologist, 57(9), 705-717.
Locke, E. A., & Latham, G. P. (1990). A Theory of Goal Setting and Task Performance. NJ: Prentice Hall.
Maha Chakri Sirindhorn HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. (2000). The Ten Perfections in Theravada Buddhism. (4th ed.). Nakorn Pathom: Mahamakut Buddhist University Printing House.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Mahamakut Buddhist University. (1982). Thai Commentary. Nakorn Pathom: Mahamakut Buddhist University Printing House.
Morgenroth, T., Ryan, M. K., & Peters, K. (2015). The Motivational Theory of Role Modeling: How Role Models Influence Role Aspirants’ Goals. Review of General Psychology, 19(4), 465–483.
Norcross, J. C., & Vangarelli, D. J. (1988). The Resolution Solution: Longitudinal Examination of New Year’s Change Attempts. Journal of Substance Abuse, 1(2), 127–134.
Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2003). Dictionary of Buddhism. (12th ed.). Bangkok: MCU Press.
Phra Brahmamoli (Vilas Nanavaro). (2545). Muninathadipani. Bangkok: Dokya Academic Press.
Somdechphrasungharaja (Chuan Utthayi). (1995). Mongkol in Buddhism. Bangkok: Kittiwan Press.
Vroom, V. (1964). Work and Motivation. New York: Wiley.