การพัฒนาระบบการบริหารจัดการสุขภาพจิตสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตนวลจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

ศักดินาณันพ์ อัครเสนากุล
ธนีนาฏ ณ สุนทร
บุญเรียง ขจรศิลป์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบ 2) ทดลองใช้ และประเมินระบบ และ 3) ปรับปรุงระบบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูแนะแนว และครูที่ปรึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสหวิทยา เขตนวลจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 250 คน และประชากร ที่ใช้ในการทดลอง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูแนะแนว และครูที่ปรึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ด้วยการสังเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการบริหารจัดการสุขภาพจิต มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต 2) ผลการทดลองใช้ และประเมินระบบ พบว่า ระบบผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ การปฏิบัติงานของครูแนะแนว และครูที่ปรึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.90) โดยมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะหลังการทดลองใช้ระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.89) และความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.93) และ 3) ผลการปรับปรุงระบบ คือ การจัดทำ แผนกลยุทธ์เชิงป้องกัน การทำงานเป็นทีม และเครือข่าย และการให้บริการสุขภาพจิตเชิงรุกแบบครบวงจร ทำให้ได้ระบบการบริหารจัดการสุขภาพจิตที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
อัครเสนากุล ศ., ณ สุนทร ธ. ., & ขจรศิลป์ บ. . (2023). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการสุขภาพจิตสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตนวลจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(4), 1455–1467. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/259375
บท
บทความวิจัย

References

Child and Adolescent Mental Health Rajanagarindra Institute. (2016). Manual of Course of School Psychologist Development. Bangkok: Beyond Publishing Co., Ltd.

Jungsirakulwit, D. (2020). New Normal of Mental Health in School. How to Deal with Depression in Adolescence for Guidance Teachers. Bangkok: Education Center of Satriwitthaya 2 School, the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2.

Katumarn, P. (2021). Mental Health in Adolescence Is a Bigger than Expected. Retrieved March 1, 2022, from https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30744

Mycoted, D. (2004). PDCA. Retrieved March 1, 2022, from https://www.mycoted.com/ PDCA?fbclid=IwAR1xGq8kPQh7x6MVYPfIlHxlWrTi-lv7mTunWpXAnuTxYGTQdclCTfgB9v8

Office of the Basic Education Commission. (2014). Guidelines for Student Support System in Educational Institutes. Bangkok: Express Transport Organization.

Office of the Basic Education Commission. (2016). Development of Student Support System. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Office of the Basic Education Commission. (2019). Manual of Mental Health (Draft). Bangkok: Bureau of Academic Affairs and Educational Standards.

Pornkosonsirilert, O. (2020). Deputy Director of Academic Management Group Satriwitthaya 2 School. Interview. December 4.

Puntee, P. (2017). Stress Management System Among Level 3 Students in Schools in Association of the Saint Gabriel’s Foundation Patronage in the Northern Region of Thailand. (Doctoral Dissertation). Saint John’s University. Bangkok.

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP Model for Evaluation. Kalamazoo: Western Michigan University. Retrieved March 1, 2022, from https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-94-010-0309-4_4

Taras, H. L. (2004). School-Based Mental Health Services. Retrieved March 1, 2022, from https://publications.aap.org/pediatrics/article-abstract/113/6/1839/64417/School-Base d-Mental-Health-Services?redirectedFrom=fulltext&fbclid=IwAR0L-Mx16KPTtP-pwxSNQxb_qFfPeICK4DzkPtcJZXT-F2gpGt4MemTL9FI

Wongrajit, K. (2020). Department of Mental Health Reveals that Most of Thai Adolescents Need Advice about “Stress” and Suggests Techniques to Deal with the Stress. Retrieved March 1, 2022, from https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30188

Wongsothorn, T. (2010). Theory and Practice in Educational Administration. System Theory, Nonthaburi: Office of the University Press, Sukhothai Thammathirat Open University.