ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมเชิงพุทธบูรณาการ เพื่อความพอเพียงบนพื้นฐานการขับเคลื่อนตามแนวประชารัฐ

Main Article Content

พระเทพปริยัติเมธี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมเชิงพุทธบูรณาการเพื่อความพอเพียงบนพื้นฐานการขับเคลื่อนตามแนวประชารัฐ ใช้วิธีวิจัยแบบประยุกต์ พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาในเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 125 รูป/คน การสนทนากลุ่มเฉพาะ 2 ครั้ง 25 รูป/คน การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมใน 15 อำเภอ จำนวน 750 คน ใช้การวิเคราะห์ TOWS Matrix เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์กรอบยุทธศาสตร์ และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา         


            ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาตามหลักธรรมปฏิบัติโดย 1) ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ส่งเสริมให้เกิดการสืบสานและสืบทอด 3) ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
4) ส่งเสริมให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาจิตปัญญาโดย 1) ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติวิปัสสนา 2) ส่งเสริมโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง 3) ส่งเสริมให้เกิดพลังเครือข่ายจิตอาสาจิตสาธารณะ และ 4) ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจิตปัญญา ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเรียนรู้ตลอดชีวิตโดย 1) สร้างสวนพุทธเกษตร 2) รวบรวมองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม 3) รวบรวมองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) จัดสรรพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) สร้างลานกีฬาต้านยาเสพติด ยุทธศาสตร์ที่ 4 การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมโดย 1) จัดกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบ 2) สร้างชุดความรู้เกี่ยวกับสังคมพหุวัฒนธรรม 3) จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรักความสามัคคี ยุทธศาสตร์ที่ 5 การขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) โดย 1) สร้างจิตสำนึกของความพอดีพอประมาณ 2) สร้างจิตสำนึกของความมีเหตุมีผล 3) สร้างภูมิคุ้มกันทางกาย ทางใจและทางสังคม 4) พัฒนาความรู้ทั้งในทางสัมมาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Maneedech, P. (2012). An Analysis of Mrs.Thongdee Phothiyong's achievement in community development from a buddhist view. (Master’s Thesis). Chiang Mai University.

Panyasing, S. (2014). Self-Development and Indicators of Farming Families’ Well-Being in Accordance with Sufficiency Economy Philosophy Approach in Northeast Thailand. Humanities and Social Sciences, 31(3) ,122-138.

Phiutongngam, S. (2014). Buddhadhasa Bhikkhu and Guidance of the Ways to Makea Living. Journal of Humanities and Social Sciences Suratthani Rajabhat University, 11(2), 175-208.

Phra Nipich Sophano (Anantakitsopol), et al. (2017). Community Development Based on Buddhist. Journal of MCU Social Science Review, 6(2), 489-504.

Phrakhrupaladsuvattanamethakul (ChaiyanSurbkrapan). (2014). Integration of Modern Thais’ Ways of Life with Buddhist Ethics. Journal of Yanasangvorn Research Institues, 5(1), 1-10.

Phramaha Boonlert Chuaythanee. (2015). The Communities Preserving Five Precepts: Model and Promote Processed of Unities Cultural in Thai Society. Journal of MCU Social Science Review, 6(2), 435-448.

Phratheppariyattimedhi.(2021). The Social Development Strategy in Line with Buddhist Integrative to Self-sufficiency on the Basis Driven by the Civil State. Psychology and Education Journal, 58(1), 1698-1703.

Pinitlokakorn, N. and Nimanong, V. (2017). A Study of the teaching on Material Non-Attachment in the Intergraded Buddhist Perspective. Journal of Graduate Studies Review, 13(2), 237-249.

Sandhivadhan, M. (2015). Development of green and happiness society model in community based on religions in Ayutthaya province. Journal of Humanities and Social Sciences, Thaksin University, 10(1), 95-118.

Wattanapradith, K. (2015). Buddhist Method for Creating Motivation to Observe the Five Precept. Journal of Psychology, 5(1), 1-15.