แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริการสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม ในการพยาบาลชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ การเตรียมรองรับการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน มีความจำเป็นต้องนำความรู้ หลักวิชากามาดูแลสุขภาพที่ดี ได้แก่ นวัตกรรมการบริการสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคมมาจัดการความรู้ ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน ด้วยความรับผิดชอบของพยาบาลวิชาชีพในระดับปฐมภูมิ ที่ทำงานเชิงรุกในชุมชน พยาบาลชุมชนควรมีทักษะการจัดการความรู้เพื่อ ดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนในชุมชน โดยใช้แนวคิด นวัตกรรมการบริการสุขภาพ และแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคมมาบูรณาการให้สอดรับกับบทบาทหน้าที่ ในการขับเคลื่อน การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พยาบาลชุมชนควรทำงานโดยใช้ แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริการสุขภาพด้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในแหล่งแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ ในการศึกษาครั้งนี้ได้จากการวิเคราะห์และทบทวนวรรณกรรมสามารถนำเสนอแนวทางให้เกิดการขยายพื้นที่ถ่ายทอดนวัตกรรมและเครือข่ายนวัตกรผู้สูงอายุระดับพื้นที่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนได้ 3 แนวทางคือ 1) แนวทางพัฒนานวัตกรรมการบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านด้วยพลังแรงสนับสนุนของครอบครัวเป็น นวัตกร ได้แก่ สามี ภรรยา บุตร หลาน 2) แนวทางพัฒนานวัตกรรมบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่วัดด้วยพลังแรงสนับสนุนทางสังคมด้วยนวัตกร ได้แก่ พระสงฆ์และญาติธรรม
3) แนวทางพัฒนานวัตกรรมการบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในระดับปฐมภูมิ ด้วยพลังแรงสนับสนุนทางสังคม ด้านนวัตกรได้แก่ บุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาลและผู้ที่มารับบริการสุขภาพ เพราะฉะนั้นพยาบาลชุมชนจึงควรส่งเสริมการจัดตั้งเครือข่าย นวัตกรผู้สูงอายุในชุมชน และแหล่งสนับสนุนทางสังคม เพื่อการรวมกลุ่มผลิตนวัตกรรมการบริการสุขภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง แก่ผู้สูงอายุในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม :สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ, บรรณาธิการ. (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ :
พงษ์พาณิชย์เจริญผล.
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ. (2556). งานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุไทย. นนทบุรี : กรมอนามัย.
อรวรรณ แผนคง. (2555). การพยาบาลผู้สูงอายุ. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.
Berkman LF. (1995). The role of social relations in health Promotion. psychosis Med. P.245-54.
Berman et al. (2000). From social integration to health: Durkheim in the new millennium. Soc Sci Med. P 43-57.
Bowling A. (1991). Social support and social networks. Their relationship to the successful
and unsuccessful survival of elderly people in the community. An analysis of
concepts and a review of the evidence.
Caplan G. (1974). Support systems and community mental health. New York : Behavioral
Publications.
Cassel Jc. (1976). The contribution of the social environment to host resistance. AJE.
P.107-123.
Encyclopedia Britannica. (2017). Acadermiced. Old age Chicago : Encyclopedia
Britannica Inc, 2012:cited 2017 Available from : http:// www.britannica.
Com/EBchecked/topic/426737/old-age.
Hupcey JE. (1998). Clarifying the social support theory-research. Linkage.
Kristin PB. Letitia A, Shelly. LG. (2009)Stigma management well-being: The role of
perceived social support, emotional processing and suppression. Peers Sic Psyches
Bull.
Lakey B, & Cohen S. (2000). Social support theory and Selecting measures of social
support. A guide for health and social Scientists. New York.
Oxford English Dictionary. (2017). Old age (Internet). Oxford, (United Kingdom) :
Oxford University Press, cited. Avertable from:URL : http://O-www.oed.com.
Library catalo. VT’s. Edu/view. Entry/2548473?Vedirected rom=old+age.
Robinson KM. et al. (1995). The relationship between health and social support in care
giving Wives as perceived by significant others.
Uchino BN et al. (1999). Social Support. Physiological processes and health.. Curr Dir
Psyches Scio. P. 145.
World Health Organization. (2002). Active aging : a policy frame work. 1st ed. Geneva :
World Health Organization.