การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหาร
2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลัก อิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดยระเบียบวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู จำนวน 152 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งแบบโครงสร้าง โดยใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านการวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ รองลงมาคือด้านผลลัพธ์ และด้านการนำองค์กรตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลัก อิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น คือ ผู้บริหารควรเป็นผู้นำทางความคิดที่มีวิสัยทัศน์ในการวางนโยบายในการบริหารส่งเสริมให้มีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับบุคลากรในทุกระดับอยู่เท่าเทียมกัน
ควรมุ่งเน้นการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบเพื่อเอื้ออำนวยในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรในโรงเรียนโดยคำนึงถึงความต้องการของนักเรียนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มของโรงเรียน มีการจัดทำมาตรฐานและเกณฑ์การวัดทั้งในด้านการเรียนการสอนและการทำงานของบุคลากร โดยมาตรฐานและเกณฑ์การวัดที่นำมาใช้มีความดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริงควรสร้างให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. 2562, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด), ๒๕๖๒.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน-OBECQA, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๙).
ที.ปา. (ไทย) 11/110/80-81
พระมหาชัยวัฒน์ จตฺตมโล (พรหมสนธิ), รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย), ๒๕๖๐.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ อ้างใน กิตติ กอบัวแก้ว, การวิจัยเพื่อการบริหาร, (นนทบุรี: วรารัตน์ เบสพริ้นติ้ง, ๒๕๕๗), หน้า ๑๓๔.
พิสณุ ฟองศรี, วิจัยทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: เทียมฝ่าการพิมพ์, ๒๕๔๙),หน้า ๑๓๘-๑๓๙.
ครอนบาค , ( Cronbach) , Essentials of psychological testing, 5th ed. (New York: Harper & Row, 1971), p. 16.
อ้างแล้วใน, ชูชีพ อรัญวงศ์, รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนระหานวิทยา อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๔๑, รายงานการวิจัย, โรงเรียนระหานวิทยา อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร, ๒๕๕๕, บทคัดย่อ.
อ้างแล้วใน, พระสุพิทักษ์ โตเพ็ง, รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมสู่ความเป็นเลิศ, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, ๒๕๖๑), บทคัดย่อ.
อ้างแล้วใน, พระทอง ฐิตปญฺโญ (บุตรดี), ยุทธศาสตร์การบริหารงานเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐), บทคัดย่อ.