ผลการทดลองใช้นวัตกรรมโปรแกรมนิติเวชศาสตร์ ในอุบัติเหตุจราจรทางบกในส่วนภูมิภาค

Main Article Content

อนุพงษ์ พูลพร
ณรงค์ กุลนิเทศ
ณรงค์ สังวาระนที
วัชรพงษ์ คำหล้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างโปรแกรม Forensic Medical Record เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระดับคะแนนผลการตรวจประเมินคุณภาพเวชระเบียนผู้ป่วยนอก/ฉุกเฉิน ระหว่างเวชระเบียนผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุจราจรแบบเดิมกับโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระดับคะแนนผลการตรวจประเมินคุณภาพเวชระเบียนผู้ป่วยนอก/ฉุกเฉิน ระหว่างเวชระเบียนผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุจราจรแบบเดิมกับโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ เป็นการศึกษาเชิงพัฒนาภายใต้กำกับของกระทรวงสาธารณสุข ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 18 โรงพยาบาล โดยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางด้านนิติเวชศาสตร์ รวม 323 ท่าน โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติ t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในภาพรวมของเว็บแอปพลิเคชันโปรแกรม Forensic Medical Record อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.00) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับดี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน คือ ด้านความถูกต้องในการของระบบ และการออกแบบระบบ (gif.latex?\bar{x} = 4.33) รองลงมาคือ ด้านการประเมินระบบด้าน User Experience (gif.latex?\bar{x} = 4.00) รองลงมาคือด้านการประเมินระบบด้าน Security Test (gif.latex?\bar{x} = 3.67) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการประเมินระบบด้าน User Interface (gif.latex?\bar{x} =3.33) 2) จากกลุ่มตัวอย่าง 18 โรงพยาบาลที่ทำการเปรียบเทียบโดยการประเมินจากการบันทึกคะแนนแบบตรวจประเมินคุณภาพ เวชระเบียนแบบเดิม มีค่าเฉลี่ย 39.5 ผลคะแนนเวชระเบียนแบบใหม่ มีค่าเฉลี่ย 43.2 มีค่าผลต่าง 3.72 ผลรวมของผลต่าง 12.6 สรุปได้ว่า เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยพบว่า คะแนนเวชระเบียนใหม่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยเวชระเบียนเดิม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ของระดับคะแนน ผลการตรวจประเมินคุณภาพเวชระเบียนผู้ป่วยนอก/ฉุกเฉินแบบใหม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าแบบเดิม


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Lertwut, K., Bothiyod, W., & Unban, C. (2018). Development of a Prevention Model. Lamphun Province: Lamphun Provincial Disaster Prevention and Mitigation Office.

Malithong, K. (1897). Educational Technology and Innovation. Bangkok: Printing House Knowledge. Retrieved August 9, 2009, from http://www.nia.or.th/innolinks

Pasilatesang, B. (2010). Web Application Development Using PHP, MySQL and Dreamweaver. Bangkok: Se-education.

Pattum, J., Sooksai, C., Maikong, N., & Yuthao, S. (2020). A Guidelines for the Medical Record Staff Potential Development of Graduate in Medical Record Program, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University. Integrated Social Science Journal: ISSJ, 7(2), 33-58.

Preeyakorn, P. (1995). Theories and Concepts of Development in Development Management; Bangkok: Samchareon Phanich Co., Ltd.

Sucharitrangkun, N. (2007). Legal Credibility of Electronic Documents. Chulalongkorn Educational and Innovative Research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Thanawatthathien, P. (2013). Design and Build Beautiful Websites with Dreamweaver CS6. Bangkok: Reviva Co., Ltd.

Watimathi, Y. (1991). Community Development: From Theory to Practice. Bangkok: Bangkok Blocks.

Wichairat, K. (1999). Forensic Clinic: Forensic Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University. Chiang Mai: Chiang Mai Press.