การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

ไก่ จันทาวัน
อรุณรัตน์ คำแหงพล
หรรษกร วรรธนะสาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง วาล์วในระบบนิวแมติกส์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง วาล์วในระบบนิวแมติกส์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.15/81.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\small&space;\bar{X}=4.67)

Article Details

How to Cite
จันทาวัน ไ. ., คำแหงพล อ. ., & วรรธนะสาร ห. . (2022). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(6), 2595–2607. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/257800
บท
บทความวิจัย

References

Champawatta, A., Pansupawat, T., & Choosup, N. (2019). The Development of Creative Thinking of Prathomsuksa 3 Students on the Topic of Materials and Objects by Using STEM Education. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University, 11(31), 59-70.

Hiranwong, M., & Krainara, S. (2013). The Efficiency of the Examination Process Vocational National Educational Test (V-NET) Rajamangala University of Technology Srivijaya, Trang Campus. Sarakham Journal, 4(1), 53-63.

Jadesadalug, V., Trichan, K., & Roemsungnoen, T. (2015). Ways of Life Under the Philosophy of Sufficiency Economy in Chang Hua Man Royal Initiative Project: A Case Study of Ban Nong Kho Kai Farmers in Phetchburi Province. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 1114-1125.

Jittapalo, U., & Jirarotephinyo, N. (2019). The Development of Vocational Management Model According to Sufficiency Economy Philosophy in College Under the Office of the Vocational Education Commission. Journal of MCU Social Sciences Review, 8(3), 199-212.

Kitthavee, Y. (2021). The Development of an Integrated STEM Learning Management Model and the Sufficiency Economy Philosophy that Promotes the Concept of STEM Education and Its Application to Life for Primary and Lower Secondary Students. Sikkha Journal of Education, 8(1), 34-44.

Narmthongdee, R. (2015). The Vocational Training Education and Potential Skills Development for Thai Workers in ASEAN. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 669-681.

Netwong, T. (2016). Development of Problem Solving Skills by Integrated Learning Following STEM Education. Research Journal, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 15(2), 1-2.

Panya, N., Khaosaad, N., & Yoomee, P. (2020). Development of STEM Education Activity Packages on Renewable Energy to Enhance Analytical Thinking Ability of Undergraduate Students. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 14(2), 538-549.

Phra Srirat Sirirattano (Srisanga), Ngamprakon S., & Siriwan I. (2018). Development of Life Skills Based on Sufficiency Economy Philosophy of Vocational College Students. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 5(3), 77-86.

Suwannapha, O., & Samranwanich, W. (2011). Matayomsuksa 1 Students’ Problem Solving by Using Knowledge Management Based on Guilford’s Approach in “Substance Characteristic and Classification”. Journal of Education Graduate Studies Research Khon Kaen University, 5(4), 130-137.

Thaweecharoenkij, W., & Suratreungchai, V. (2019). The Development of Instruction Model to Promote the Problem Solving Skill Thinking of Vocational Students Based on Theory of Constructionism. Ratchaphruek Journal, 17(1), 86-93.

The National Institute of Educational Testing Service (Public Organization), (2019). National Educational Test Report Vocational Education (V-NET) Level 2 Vocational Certificate, Academic Year 2019, No. 2. Statistics for Educational Institutions Separated by Components. Bangkok: Ministry of Education.