การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้มรดกโลก ทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางพัฒนาวิดีโอคลิปและแอพพลิเคชั่นสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา 2) พัฒนาวิดีโอคลิปและแอพพลิเคชั่นสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา และ 3) ประชาสัมพันธ์และประเมินผลวิดีโอคลิปและแอพพลิเคชั่นสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา และการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จำนวน 23 คน และผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 5 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ รวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางพัฒนาวิดีโอคลิปและแอพพลิเคชั่นสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา เป็นการจัดทำข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 4 แห่ง รวม 27 สถานที่ โดยมีรูปแบบการนำเสนอสื่อการเรียนรู้คือ (1) การจัดทำข้อมูลและการนำเสนอแบบตรงประเด็น ชัดเจน และน่าสนใจ (2) การจัดทำสื่อการเรียนรู้และช่องทางการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล
ที่ใช้งานง่าย และเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา 2) การพัฒนาวิดีโอคลิปและแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา ได้จัดทำสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบวิดีโอคลิปแบ่งตามชื่อของมรดกโลกทางวัฒนธรรม จำนวน 27 คลิป และจัดทำช่องทางเข้าถึงสื่อการเรียนรู้เป็น 2 ช่องทาง คือ ช่องยูทูป และแอพพลิเคชั่น และ 3) ประชาสัมพันธ์และประเมินผลวิดีโอคลิปและแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา พบว่าความพึงพอใจในภาพรวม (1) ด้านวิดีโอคลิป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 อยู่ในระดับมากที่สุด และ (2) ด้านแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ASEAN NOTES. (2014). HISTORIC CITY OF AYUTTHAYA. Retrieved 22 July, 2021, from https://aseannotes.blogspot.com/2014/07/2_5059.html
ASEAN NOTES. (2014). HISTORIC TOWN OF SUKHOTHAI AND ASSOCIATED HISTORIC TOWNS. Retrieved 22 July, 2021, from https://aseannotes.blogspot.com/2014/07/3_21.html
Buhalis, D. (2019). Technology in Tourism–From Information Communication Technologies to Etourism and Smart Tourism Towards Ambient Intelligence Tourism: A Perspective Article. Tourism Review, 75(1), 267-272.
Chen, Y. (2014). The effects of perceived relevance of travel blogs’ content on the behavioral intention to visit a tourist destination. Retrieved September 18, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/262272955
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., &. Warshaw, P. R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8), 982-1003.
Gretzel, U. (2015). Smart tourism: foundations and developments. Retrieved September 18, 2022, from https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s12525-015-0196-8.pdf
Huang, C. D. et al. (2017). Smart Tourism Technologies in Travel Planning: The Role of Exploration and Exploitation. Information & Management, 54(6), 757–770.
Li, Y. (2017). The concept of smart tourism in the context of tourism information services. Tour Management, 58, 293–300.
Owaied, H. H., Farhan, H. A., Al-Hawamdeh, N., & Al-Okialy, N. (2011). A model for intelligent tourism guide system. Journal of Applied Sciences, 11(2), 342-347.
Sun, Y. et al. (2016). Internet of Things and Big Data Analytics for Smart and Connected Communities. IEEE Access, 4, 766-773.
UNESCO. (2021). Historic City of Ayutthaya. Retrieved August 3, 2021, from https://whc.unesco.org/en/list/576/
UNESCO. (2021). World Cultural Heritage list. Retrieved August 3, 2021, from https://whc.unesco.org/en/list/574/
UNESCO. (2021). World Heritage List. Retrieved August 3, 2021, from https://whc.unesco.org/en/list/&order=country#alphaT
UNESCO. (2021). World Heritage List. Retrieved August 3, 2021, from http://whc.unesco.org/en/list/
UNESCO. (2021). World Heritage Properties in Thailand. Retrieved August 3, 2021, from http://whc.unesco.org/en/statesparties/th
Wang, D. (2012). The role of smartphones in mediating the touristic experience. Retrieved September 18, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/258161252