รูปแบบเกษตรอินทรีย์วิถีโคกหนองนาโมเดล: รูปแบบชุมชนสันติสุขของบ้านถ้ำโกบ ตำบลหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทของชุมชนบ้านถ้ำโกบ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและความสำคัญของเกษตรอินทรีย์วิถีโคกหนองนาโมเดลที่ช่วยเสริมสร้างสังคมสันติสุขของชุมชนบ้านถ้ำโกบ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของชุมชนบ้านถ้ำโกบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดสานเสวนา การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงและนำมาวิเคราะห์ อธิบายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านถ้ำโกบ เป็นชุมชนเก่าแก่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
โดยชาวบ้านบางครอบครัวประสบกับปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำในการทำเกษตรกรรม และปัญหาราคาพืชผลตกต่ำในขณะที่มีต้นทุนในการผลิตสูง 2) ชุมชนได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้การทำเกษตรกรรม มีการบริหารจัดการชุมชนด้วยการพึ่งพาตนเอง ลดการใช้สารเคมี การทำธนาคารน้ำ ธนาคารข้าว โดยการหันมาทำเกษตรอินทรีย์วิถีโคกหนองนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการจัดทำโรงสีชุมชน ร้านค้าชุมชนเพื่อการพึงตนเอง 3) การเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของชุมชนบ้านถ้ำโกบ เกิดขึ้นจากการกลับมาพึงพาตังเองของคนในชุมชน การตระหนักถึงปัญหาของชีวิตและแก้ไขปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 มีการเรียนรู้และพัฒนาชีวิตตามหลักภาวนา 4 คือ ฝึกฝนร่างกายให้พร้อมในการทำงาน มีความประพฤติที่เหมาะสม มีจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน และมีปัญญาเข้าใจปัญหาชีวิต ใช้หลักอิทธิบาท 4 ทำงานด้วยความรักในงานที่ทำ ขยันหมั่นเพียร เอาใจใส่และรู้จักพินิจพิเคราะห์ปัญหาที่ต้องเผชิญ คนในชุมชนบ้านถ้ำโกบจึงมีความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ เกื้อกูลและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Buddhadasa Bhikkhu. (2006). Buddhist Economics. Bangkok: Healthy Heart.
Chanadisai, T. (2017). The King's Science: The Story of the King's hometown. Bangkok: Amarin Comics.
Mookpadit, M. (2005). Analytical Study of H.M. The King’s Sufficiency Economy Philosophy and Buddhism. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Phongphit, S. (2005). Learning Community and Happy: Lessons from the Village. Bangkok: Europa Press.
Phrakhru Phiphat Kittisoonthorn. (2017). The application to the buddhist philosophy and the philosophy of sufciency economy to construct sustainability of communities in Nathawee District of Songkhla Province. The Journal of Academic Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 81-92.
Phrapalad Raphin Buddhisaro. (2020). Model of Application of Buddhist Economics in Prototype Community of Thailand. Journal of SaengKhomKham Buddhist Studies, 5(2), 277-293.
Phra Samniang Kantathammo. (2007). Philosophy of Sufficiency Economy According to H.M. the King and the Mental Development in Buddhism. Journal of Thai Language and Thai Culture, 1(2), 95-105.
Prasomsuk, A. (2018). An Application of Sufficiency Economy According to Buddhism of The Local Scholars in Khaw Sub-District Selaphum District, Roi-Et Province. (Master's Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Auttaya.
Punyawadee, V. (2007). Economic Development in Thailand. Thammasat Economic Journal, 2(4), 2-3.
Sangrod, N. (2020). Baan Thumkob farmer. Interview. December, 22.
Thepsittha, S. (1998). Crisis of poverty in Thai society. Bangkok: Jirarat printing.
Wasi, P. (2007). Knowledge Management: The process of liberating human beings to their potential, freedom and happiness. Bangkok: Green Panyayan.