การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนฐานการพึ่งตนเอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนฐานการพึ่งตนเอง 2) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนฐานการพึ่งตนเอง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดย แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน ประเด็นสนทนากลุ่ม ซึ่งมีขั้นตอนในการศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้นำและสมาชิกของชุมชนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานด้านสุขภาวะ จำนวน 9 คน จาก 3 ชุมชน การสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนหรือผู้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชนจำนวน 17 คน และการศึกษาความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษานอกระบบ จำนวน 8 คน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปจากผลการศึกษาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนาในประเด็นด้านกระบวนการ และข้อเสนอแนะแนวทาง
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนฐานการพึ่งตนเอง ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างกลุ่มแกนนำขับเคลื่อนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์สุขภาวะชุมชน ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนฐานการพึ่งตนเอง ขั้นตอนที่ 4 การสื่อสารแผนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนสู่สมาชิกในชุมชน ขั้นตอนที่ 5 การปฏิบัติตามแผนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน และขั้นตอนที่ 6 การสรุปผล และการสะท้อนคิดทบทวนการปฏิบัติ 2) ข้อแนวทางการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนฐานการพึ่งตนเอง ได้แก่ แนวทางที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มแกนนำอาสาสมัครที่ดำเนินงานด้านสุขภาวะชุมชน แนวทางที่ 2 การสร้างแผนการดำเนินงานเชิงรุกบนฐานการมีส่วนร่วม แนวทางที่ 3 การสร้างวิธีการสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลสำคัญให้กับคนในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ แนวทางที่ 4 การใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาสุขภาวะ และแนวทางที่ 5 การสร้างหุ้นส่วนการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ที่ดำเนินงานด้านสุขภาวะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Buakanok, F. S. (2015). Educational Media Development Using Community Participatory Development Approach for Establishing Awareness of Community Health: A Case Study Bann Pae Don Ton, Chompoo Sub-District, Lampang Province. Journal of Education Studies, 43(1), 63-79.
Hankun, K., Manorom, K., & Kittivetchakul, N. (2013). Power Negotiating Fields of an Urban Poor Community in Ubon Ratchathani Province. Journal of Liberal Arts, Ubon Ratchathani, 9(1), 45-73.
Helliwell, J. F., Layard, R., Sachs, J., & Neve, J.-E. D. (2021). World Happiness Report. New York: Sustainable Development Solutions Network.
Jaitae, S., Sommanee, C., Jinasuk, W., & Thumjai, P. (2021). Utilization and Policy Recommendation to the Traditional Herbal Conservation: Case Study Salung – Keelek Community, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 22(2), 6-13.
Karoonngampun, M. et al. (2018). Participatory Action Research on Health Evaluation and Health Problem Management for Adults in the Urban Workplaces: A Case Study of Wangkanai Group. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 10(1), 51-66.
Koedmeemul, M. (2013). Thais' Quality of Life: A Case Study of the Urban People. NIDA Development Journal, 52(3), 129-154.
Nakham, M., & Nakham, P. (2012). Health Promotion, Physically, Mentally, Socially and Intelligently. Humanities and Social Sciences, 29(2), 51-78.
Nitirochana, P. (2014). People Participation in Community Development of Bangkok Metropolitan: Case Study; Wangthonglang District’s Self-Reliance Community Plan. (Master's Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.
Phanwattana, P. (2019). Food Consumption Behavior of Working Age People in Bangkok. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen, 26(2), 93-103.
Phatchaney, K., & Chamaratana, T. (2018). Urbanization Impact toward Capital Assets Accession and Holding of Labor Households in Khon Kaen Peri - Urban. Suratthani Rajabhat Journal, 5(2), 101-126.
Phetchana, S. (2015). Self-Management Strategies of Baan Munkong-Suanplu Community, Sathorn, Bangkok. (Master's Thesis). Thammasat University. Bangkok.
Ruangoudom, N. (2011). The Relationship between Self-Reliance and Social Capital: Case Study at Khlong Lat Mayom Community, Bangramad, Talingchan, Bangkok. (Master's Thesis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.
Sawatrum, P., & Poolsawat, M. (2011). Factors Affecting the Tourism Expansion, Income Structure and Income Distribution of the Tourism Community in the Eastern Region. Modern Management Journal, 9(1), 27-41.
Thongwachira, C. et al. (2018). Community Well-being on a Basis of Community Capacity and Network Partners' Participation: A Case Study of ThaSadet Communities, Muang District, Suphanburi Province. Princess of Naradhiwas University Journal, 5, 51-61.
Varapipat, K. (2001). Khit-pen Philosophy. Bangkok: Aksornthai Press Limited Partnership.
World Health Organization. (2014). Mental Health: A State of Well-being. Retrieved August 22, 2021, from http://www.who.int/features/factfiles/mental_health/en/