การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สะเต็มศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเมืองสกลนคร (ธาตุนารายณ์เจงเวง) อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 36 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.00/80.71 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chuaychoocherd, N. ( 2014). A study of learning achievement and solving problem ability in science of matthayomsuksa 2students taught by science activity package. Journal of Srinakharinwirot Research and Development, 6(12), 87-94.
Chuaytanee, N. (2020). Enhancing stem problem-solving skills of undergraduate students by using the integrated stem education with argumentation learning model (6e+a). Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 5180-5191.
Hanphichai, S. (2018). Development of Learning achievement using Cooperative Learning Groups in Integrated Local Development Planning. Journal of Humanities and Social Sciences, 9(1), 15-26.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology(IPST). (2014). STEM Education. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology Ministry of Education.
Khotsing,S. (2014). Development of a Science InstructionModel Based on Problem-Based Learning to Enhance Problem Solving Skills of Grade Seven Students. Research Methodology & Cognitive Science, 11(2), 40-52.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum A.D. 2008. Nonthaburi: Thai Romklao.
Netwong, T. (2016). Development of Problem Solving Skills by Integration Learning Following STEM Education. Research Journal-Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 15(2), 1-6.
Nilkot, P. (2018). O-NET. Retrieved July 1, 2021, from http://data.bopp-obec.info/web/indexonet.php?SchoolID=1047540008.
Panich, V. ( 2015). learning methods for disciples in the 2 1st century. Journal of Learning Innovations Walailak University, 1(2), 3-14.
Phonlek, S., Khamhaengpol, A., & Suwannatrai, K. (2021). Development of Creative Thinking of Grade 10 Students on the topic of Organisms’ Basic Chemistry by using STEM Education with Sufficiency Economy Philosophy. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 15(1), 210-224.
Poonruang, A. (2015). A comparison of learning achievement and ability in problemsolving in chemistry of life through stem education approach for grade-11 students. Journal of Education Mahasarakham University, 9(Special), 410-411.
Sahaphattanasombut, P., Romsye, P., & Jaradrawiwat, S. (2020). The effects of stem education to promote the problem-solving abilities on the topic of sufficiency economy and country development in social study, religion and culture learning area of mathayomsuksa 3 students. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 17(79), 21-32.
Social Communication Affairs Subcommittee and Youth Policy Movement Committee – YPMC. (2011). Thailand Education Reform. Bangkok: Print City Company Limited.
Sornrom, D. (2015). The Effect of the Project - based Learning entitled Life and Environment for Learning Achievement, Science Problem Solving Ability and Satisfaction of Prathom Suksa 6 Students. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University, 8(21), 45-54.