การปกครองของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเมี่ยนผ่านองค์มติ ความเชื่อ สังคม วัฒนธรรม

Main Article Content

ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิตร

บทคัดย่อ

กลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตนเองว่า “เมี่ยน” หรือ “อิ้วเมี่ยน” มักเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “เย้า” เมี่ยนเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูงตั้งชุมชนกระจายอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย นอกจากนั้นแล้วยังพบบริเวณรอยต่อของประเทศจีน เวียดนาม ลาว และไทย กับบางส่วนที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกภายหลังจากสงครามอินโดจีน โดยชาวเมี่ยนที่อยู่ในประเทศไทยได้อพยพเข้ามาสู่ดินแดนล้านนาเมื่อ 200 ปีก่อน โดยตั้งถิ่นฐานอย่างกระจัดกระจายในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง น่าน สุโขทัย ตาก เป็นต้น โดยทั่วไปจะรู้จักกันในลักษณะที่เป็นชาวเขา ซึ่งแสดงความโดดเด่นจากลักษณะทางด้านวัฒนธรรม เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ การละเล่นต่างๆ รวมถึงการปกครอง ชาวเมี่ยนมีการนับถือลำดับตามอาวุโส ผู้ชายมีสถานภาพทางสังคมสูงกว่าผู้หญิงและมีอำนาจมากกว่าในทุกด้าน โดยชาวเมี่ยนยังคงรักษาจารีตประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตดั่งเดิมผสมผสานกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ ให้เกิดความกลมกลืน ในการสร้างการมีตัวตัน และอัตลักษณ์ของตนในสังคม ทั้งภาษา การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะเด่นในเรื่องของการปักทอผ้าทั้งผู้ชายและผู้หญิงด้วยความชำนาญงานปักที่เป็นเอกลัษณ์ มีวิถีการดำรงชีพหลักคือ ทำเกษตรแบบกึ่งยังชีพบนพื้นที่สูง รวมถึงมีความจงรักภักดีและความเชื่อต่อเทพเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการนับถือระบบเครือญาติแบบแซ่ ตระกูล และผีบรรพบุรุษ ทำให้ชาวเมี่ยนมีการปกครองโดยผู้นำคือ ผู้อาวุโส หัวหน้าหมู่บ้าน หมอผี และมีการนับถือในรูปแบบลัทธิเต๋า มีความยกย่องให้บุรุษเป็นใหญ่ ทั้งในครัวเรือนและในสังคม ในรูปแบบการใช้ชีวิตของชาวเมี่ยนในสังคมจึงเป็นรูปแบบปิตาธิปไตย ซึ่งส่งผลให้ผู้ชายได้เปรียบในสังคมหลายๆด้าน และเป็นแบบแผนทางการปกครองของชาวเมี่ยนในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
จิรกิจนิมิตร ณ. . (2022). การปกครองของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเมี่ยนผ่านองค์มติ ความเชื่อ สังคม วัฒนธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 858–870. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255937
บท
บทความวิชาการ

References

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2538). ชาวเขา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.(2548). แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่2). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทรบูรณ์ สุทธิ, สมเกียรติ จำลอง และ ทวิช จตุวรพฤกษ์ (2539).วิถีเย้า.เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.
ประสิทธิ์ ลีปรีชา, ยรรยง ตระการธำรง และวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ (2547). เมี่ยน หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง.เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิชญ์พิเชฐ พันธุ์พิสุทธิชน (2550) การปรับตัวของระบบจารีตประเพณีเพื่อการจัดการปัญหาและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนอิ้วเมี่ยน. รายงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564.เข้าถึงได้จาก:http://research.culture.go.th/index.php/research/item/652-2012-09-18-01-52- 22.html
ภูมิชาย คชมิตร.(2558). เมี่ยน,สังคม,เศรษฐกิจ,การเมือง,ความเชื่อ,วัฒนธรรม,ประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564. .เข้าถึงได้จาก: https://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=1328
มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (2561).รายงานสังเคราะห์ความเป็นคนชายขอบของชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบาง ในประเทศไทย.
วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ (2545). พลวัตรของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในชีวิตครอบครัวและบทบาททางเพศสภาพของผู้หญิงอิ้วเมี่ยน (เย้า) ภายใต้ผลกระทบของการพัฒนา.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง.(2563). กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดลำปาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก: https://www.m-culture.go.th/lampang/ewt_news.php?nid=2746&filename=index
สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2561). เอกสารประกอบการเสนอขอทุน สกว.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก: http://www.rsc.lpru.ac.th/newweb/ index.html.
เสรี ซาเหลา และคณะ. (2545). กลุ่มชาติพันธุ์: วัฒนธรรมและประเพณี จังหวัดนครสวรรค์. สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
อานันท์ กาญจนพันธ์.(2531). ผู้หญิงกับพิธีกรรมล้านนา: ข้อสังเกตจาการเลี้ยงผีมดเมืองแพร่. รายงานการประชุมเสนอผลงานทางวิชาการ โครงการสตรีศึกษาในภาคเหนือ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.