คุณค่าและความสำคัญของบทบาทบวรต่อการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน: ศึกษากรณี ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระภควิชญ์ ปุญฺญชาโต
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทบวรประวัติและพัฒนาการของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลสวาย 2) เพื่อศึกษาคุณค่าและความสำคัญของบวรต่อการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลสวาย 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของบวรต่อการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลสวาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการวิจัยเชิงทดลอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มผู้นำชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 ท่าน วิเคราะห์และนำเสนอผลวิจัยเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ตําบลสวาย มี 10 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 4,076 คน จากต่างชาติพันธุ์ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชนจึงจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับศูนย์ไกล่เกลี่ย โดยการมีบวร คือ บ้าน วัด เรียน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลสวาย  2) ความสำคัญของบวรคือช่วยให้สังคมสงบสุขเพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเชื่อพระและครู ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่มีการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประชาชนตำบลสวาย 3. บทบาทของบวร มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตำบลสวายสร้างความสามัคคีในชุมชน โดยช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ได้แก่ ความขัดแย้งด้านข้อเท็จจริง หรือข้อมูล ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ หรือความต้องการ ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ ความขัดแย้งด้านคุณค่า หรือค่านิยม และความขัดแย้งด้านโครงสร้าง โดยมีการบูรณาการพุทธสันติวิธีเพื่อพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน แต่ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรค  คือประชาชน ส่วนใหญ่ยังเห็นว่าในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชนควรใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยประชาชนกันเอง


 

Article Details

How to Cite
ปุญฺญชาโต พ., & วาทโกวิโท พ. (2022). คุณค่าและความสำคัญของบทบาทบวรต่อการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน: ศึกษากรณี ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 652–664. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255441
บท
บทความวิจัย

References

Reference
Aksornsie, P. (1997). Factors Affecting Consumption Behavior according to Buddhist Economics: A Case Study of Rajabhat Institute Petchburivittayalongkorn. (Term Paper). Bangkok: Department of Social and Environmental Development.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
National Institute of Development Administration.
Phra Dhampiṭaka (P.A.Payutto). (1988).Sustainable development. Bangkok: Komol Kiamthong.
Phramaha Dhammarat Ariyadhammo. (1999). An Analytical Study of the principles of political science in Tripitakas. (Master’s Thesis) Program of Education Administration. Graduate School: Mahamakut Buddhist College. Nakhon Pathom.
Phramaha Sa-ngar Pholsongkran. (1999). A comparative study of Buddhist economics and sufficiency economy in Thai society. Master's thesis. Program in of Comparative Religion. Faculty of Arts: Mahidol University. Nakhon Pathom.
Tantivejkul, S.. (2001). Under the King's Footsteps. Bangkok: Matichon Publishing House.
Raweewan, C.. (2012). A model study of Trading and Taxation in Theravada Buddhist scripture. (Master’s Thesis). Program in Buddhist Studies. Mahachulalongkorn University. Ayutthaya.
Sawai Sub-district Women Group, (2020). Focus Group, Round 1 for preliminary area data survey. July, 6.
Sawai Sub-district Women Group, (2020). Focus Group, Round 2 for discuss perspectives and
household accounts. July, 27.
Srilert,S. (2020). Teacher of Tha Koi Nang Village School, Sawai Subdistrict. Focus Group of experts. September, 7.
Suphasorn, P.. (2020). Director of Special Buddhism Program. Interview. August, 15.