แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของกลุ่มโรงเรียนช่องลมสุขสันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ของกลุ่มโรงเรียนช่องลมสุขสันต์ 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของกลุ่มช่องลมสุขสันต์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนช่องลมสุขสันต์ จำนวน 48 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน
โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แจกแจงความถี่และการจัดลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของกลุ่มโรงเรียนช่องลมสุขสันต์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากในด้านวิชาการโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดองค์การ ด้านงานงบประมาณโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการจัดองค์การ ด้านงานบุคคลโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผน ด้านงานบริหารทั่วไปโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผนและการควบคุม ปัญหาการบริหารจัดการศึกษา ด้านวิชาการ คือ การจัดการเรียนการสอนไม่ตรงตามแผนและไม่สอดคล้องกับพัฒนาการเรียนรู้ ผู้บริหารไม่สร้างแรงจูงใจ ด้านงบประมาณ คือ ไม่มีการอำนวยความสะดวกเรื่องงบประมาณ และไม่มีการตรวจสอบทะเบียนคุม การใช้จ่าย ด้านบุคคล คือ ไม่มีการวางแผนอัตรากำลัง มอบหมายการรับผิดชอบงานที่ชัดเจน ด้านบริหารทั่วไป คือ สถานศึกษาไม่วางแผนกำหนดงาน ขาดแรงจูงใจในการทำงานร่วมกันภายในสถานศึกษา 2) แนวทางการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของกลุ่มช่องลมสุขสันต์ ด้านวิชาการ ควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมที่เป็นระบบ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง ด้านงบประมาณ มีการประชุมวางแผนให้สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ด้านบุคคล มีการวางแผนอัตรากำลังให้เหมาะสมกับงานและความสามารถ ด้านบริหารทั่วไป มีการจัดคนที่มีทักษะ ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Hicks, H. G., & Gullet, R. C. (1981). Management. Kokyo: McGraw-Hill International Book Company.
Kast, F. E., & Rosenzweig, J. E. (1970). Organization and Management: A System Approach. New York: McGraw-Hill Book Company.
Ministry of Education. (2017). Early Childhood Education Program B.E 2560. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Ltd Printing House.
Office of the Education Council. (2012). The 14th National Educational Research Conference. Bangkok: Charoenpon Graphic.
Rungrueangronnachai, S., & Rukponmongkol, P. (2009). Academic Administration Strategies for Lower Secondary School Students in Educational Opportunity Expansion Schools, Kamphaeng Phet Province. Dhonburi Rajabhat University Journal, 14(1), 76-92.
Saengmanee, W. (2001). Organization and Management. Bangkok: Rabiangthong Printing.
Sanrattana, W. (2002). Educational Administration: Concepts, Theories, Roles, Issues and
Analysis of the Thai Educational Organization. (3th ed.). Bangkok: Pimpisut.
Santiwong, T. (2003). Human Resource Management. Bangkok: Prachoomchang Company Ltd.
Srisa-ard, B. (2003). Curriculum Development and Curriculum Research. Bangkok: Sureeviriyasarn Publishing.
Suksriwong, S. (2006). Management: From a Management Perspective. (4th ed.). Bangkok:
G.P. Cyber Print Co., Ltd.
Thumboworn, N. (2006). Early Childhood Education Program. Bangkok: Chulalongkorn
University Press.