วัด 9 ศรี: การท่องเที่ยวบนคติ ความเชื่อแห่งเส้นทางบุญในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์
พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ
ปาณิสรา เทพรักษ์
เบญญาดา กระจ่างแจ้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคติ ความเชื่อและเส้นทางบุญในจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาความเชื่อที่มีความสัมพันธ์กับเส้นทางบุญในจังหวัดลำปาง 3) เพื่อนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวตามความเชื่อแห่งเส้นทางบุญในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ ศึกษาเอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อยและปฏิบัติการ โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสอบถามจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก 52 รูป/คน และการนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวผ่านสื่อมีเดียโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การใช้สถิตเชิงพรรณนาและอธิบายเป็นความเรียง


ผลการวิจัยพบว่า 1) การท่องเที่ยวมุ่งให้เกิดคุณภาพชีวิต จิตใจ สร้างสัมพันธ์อันดีงามแก่ตนเองและผู้อื่น โดยนักท่องเที่ยวศึกษาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เดินทางวันนักขัตฤกษ์ ชอบเที่ยวเดือนละครั้งกับครอบครัวด้วยรถยนต์ส่วนตัว ค่าใช้จ่าย 3,000-5,000 บาท โดยปัจจัยการท่องเที่ยว ได้แก่ ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สุภาษิตสอนใจและเส้นที่สะดวก 2) ความเชื่อที่มีความสัมพันธ์ของเส้นทางบุญ ได้แก่ (1) หลักคำสอน (2) ความงดงามและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (3) เส้นทางการท่องเที่ยวที่มีความเชื่อ เรื่องราวประวัติศาสตร์ล้านนา 3) การเป็นเส้นทางเชิงพุทธศิลปกรรม มีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ อยู่ใกล้เคียงและเป็นพื้นที่เส้นทางเมืองศิลปะสร้างสรรค์องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) ทุนทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่ดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยว 2) ความเชื่อท้องถิ่น โดยการขอพรตามความเชื่อปีเกิด 3) ประวัติศาสตร์ เรื่องราวเหตุการณ์ทางวัฒนธรรม ประเพณี 4) ศิลปกรรม ความงดงามทางด้านศิลปกรรมสร้างความงดงามทางสุนทรียภาพ 5) ความเชื่อทางศาสนา สะท้อนการกระทำกรรมดีและชั่ว ทั้งนี้ มีเป้าหมายการท่องเที่ยว คือ การสร้างความสุขทั้งด้านการเดินทางและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ให้ยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ศรีปรัชยานนท์ ส., วชิราวุโธ พ., เทพรักษ์ ป., & กระจ่างแจ้ง เ. (2022). วัด 9 ศรี: การท่องเที่ยวบนคติ ความเชื่อแห่งเส้นทางบุญในจังหวัดลำปาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1299–1314. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255240
บท
บทความวิจัย

References

Akkarangkul, S. (2007). Tourist Behaviour. Khonkean: Khangnanavidya Puplication.

Angkul, R. and Others. (2004). The Potential Development of Arts, Culture and Local Wisdom Tourism. (Research Report). Ramkhamhaeng University.

Choibamroong, T. (2007). Community Based Tourism Management. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.

Faksang, D. (2009). The Promotion of Cultural Tourism with Community Participation Capital Markets at Bangluang, Nakhon Pathom. (Research Report). Suan Sunandha Rajabhat University.

Jittangwattana, B. (1999). Sustainable Tourism Development. Chiang Mai: Faculty of Humanities, Chiang Mai University.

Khruearaya, T. (2016). Hapakorn. Burmese-Thai Yai Temple in Lampang. Lampang: Culture of Lampang Province.

Koses, S. (1973). Religious Cult. Bangkok: Bannakan Printed.

Kuphanumat, C. (2014). A Study on Buddhist Cosmology Conception in Lan Na Paintings for the Creations of on Temporary Arts. Silpakorn University Journal, 24 (3), 17-42.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2010). Dictionary of Buddhism, 14 th ed. Bangkok: Thanathachakan Publication.

Pinkaeo, K. (2014). The Development of Cultural Tourism Policy for Pranakorn Sriayudhya, Pathumthani and Nunthaburi Province. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).

Seanglimsuwan, K., and Saenglimsuwan, S. (2012). Sustainable Cultural Heritage Tourism. Executive Journal, 32 (4), 139-146.