ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิทธิ ความเป็นธรรม และความเท่าเทียม ผ่านมุมมองของกลุ่มหญิงรักหญิงในสังคมไทย

Main Article Content

ฐาปนี โปร่งรัศมี
สุวิชา เป้าอารีย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิทธิ ด้านความเป็นธรรม    และด้านความเท่าเทียม ผ่านมุมมองของกลุ่มหญิงรักหญิงในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิทธิ ด้านความเป็นธรรม และด้านความเท่าเทียมในสังคมไทย ผ่านมุมมองของกลุ่มหญิงรักหญิงในสังคมไทย 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับกระบวนทัศน์ด้านนโยบายและประเด็นกฎหมาย เพื่อเสริมสร้างความเป็นธรรม และความเท่าเทียมของกลุ่มหญิงรักหญิงที่เหมาะสมภายใต้บริบทของสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ คู่รักกลุ่มหญิงรักหญิง   โดยกำหนดขอบเขตในการศึกษาคู่รักหญิงรักหญิงที่ใช้ชีวิตชีวิตคู่มาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ปี และมีช่วงอายุระหว่าง 25 - 50 ปี ทำวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ


ผลการศึกษาความมั่นคงของมนุษย์ของกลุ่มหญิงรักหญิง 1) ด้านสิทธิ พบว่า กฎหมายยังไม่เอื้ออำนวยให้กลุ่มหญิงรักหญิงพึงได้รับให้สิทธิโดยชอบธรรมในฐานะพลเมืองทั่วไป เช่น สิทธิในการยื่นขอจดทะเบียนสมรส 2) ด้านความเป็นธรรม พบว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการรับรองความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งส่งผลไปยังสิทธิในการสมรส 3) ด้านความเท่าเทียม พบว่า ไม่ได้รับความเสมอภาคเทียบเท่ากับบุคคล     ชายหญิงทั่วไป รวมถึงการมีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่าง แนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับกระบวนทัศน์ทางสังคมนั้น รัฐบาลควรนำแนวคิดสิทธิมนุษยชนมาปรับปรุงกฎหมายข้อกำหนดเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง รณรงค์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับสังคม ประสานกับภาคเอกชนใช้กฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองกลุ่มหลากหลายทางเพศและปราศจากการเลือกปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
โปร่งรัศมี ฐ., & เป้าอารีย์ ส. . (2023). ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิทธิ ความเป็นธรรม และความเท่าเทียม ผ่านมุมมองของกลุ่มหญิงรักหญิงในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 878–887. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255126
บท
บทความวิจัย

References

Anderson, T. L. (2002). Practical Ethics Series: Rawls’ Social Contract: Justice as Fairness. Retrieved May 5, 2021, from https://scholar.google.com/scholar?hl=th&as_sdt=0%2C5&q=Anderson%2C+T.+L.+%282002%29.Rawls%E2%80%99+social+contract&btnG=,1-4

Kongsawat, N. (2015). A Study of the Interaction Effects between Gender and Generation Affecting Fashionable Shoes Making Decision of the Consumers in Chonburi Province. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.

Link, B. G., Mirotznik, J., & Cullen, F. T. (1991). The Effectiveness of Stigma Coping Orientations: Can Negative Consequences of Mental Illness Labeling Be Avoided? Journal of Health and Social Behavior, 32(2), 302-320.

Nitiwana, C., & Leerasiri, W. (2017). Promotion of LGBT Human Rights in the United States during the Obama Administration (2009-2016). Journal of Political Science and Public Administration, 8(1), 1-32.

Owen, T. (2010). “Human Security: A Contested Contempt”. In the Rutledge Handbook of New Security Studies. London: Rutledge.

Payaksee, S. (2017). Inequalities of Rights with Sexual Diversity. Documents for Academic Conferences (Proceedings) the 16th Graduate Student Network Seminar in Sociology and Anthropology Academic Year 2016 During 29-30 June 2017. (pp. 903-914). Phitsanulok: Naresuan University.

Sooksom, A. (2016). Human Rights to Sexual Orientation and Gender Identity in Thai Legal System. Bangkok: Thammasat University.

Sudha, M. (2007). Human Security: Concept and Practice. Retrieved May 5, 2021, from https://mpra.ub.uni-muenchen.de/2478/1/MPRA_paper_2478.pdf

Sukrarerk, P. (2003). Sex Education: The Science of Learning about Sex. Bangkok: Hmorchawban.

Thepthein, B. (2008). The Relationship of Homosexuals Life. Bangkok: Srinakharinwirot University.