การศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นต่อแนวทางการสนับสนุน พฤติกรรมเชิงบวกสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม

Main Article Content

หรรษา องคสิงห์
ชนิดา มิตรานันท์
กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวก 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวกสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรม
ในโรงเรียนเรียนร่วม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และนักสหวิชาชีพ จำนวน 12 คน ผ่านการคัดเลือกตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้
คือ ประเด็นและแบบบันทึกการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม ยังไม่มีระบบดูแลช่วยเหลือหรือระบบการจัดการพฤติกรรมโดยเฉพาะ โดยนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้าง SEAT มาใช้ในโรงเรียนเพื่อดำเนินงานในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งโรงเรียนและนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรม พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนที่พบบ่อย ได้แก่ ไม่ตั้งใจเรียน พฤติกรรมก่อกวนในห้องเรียน ลุกออกจากที่บ่อย ไม่อยู่นิ่ง ทำงานไม่เสร็จตามเวลา และเทคนิคที่ครูใช้จัดการพฤติกรรมได้แก่ เทคนิคการให้แรงเสริมทางบวก การเสริมแรงทางลบ 2) สภาพปัญหาพบว่า การดำเนินงานการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมยังไม่มีความชัดเจน ครู บุคลากรในโรงเรียนยังขาดความรู้และทักษะต่างๆเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือ และขาดการประสานงานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ 3) ความต้องการจำเป็นพบว่าโรงเรียนอยากให้มีแนวทางการการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม มีระบบและกลไกที่ชัดเจน 4) แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ได้แก่ การมีระบบงานหรือขั้นตอนการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะการปฏิบัติงานและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

Article Details

How to Cite
องคสิงห์ ห., มิตรานันท์ ช., & วิบูลพัฒนะวงศ์ ก. . (2021). การศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นต่อแนวทางการสนับสนุน พฤติกรรมเชิงบวกสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 802–816. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255122
บท
บทความวิจัย

References

1.Council for Children with Behavior Disorder (2018). Behavior disorders: Definitions characteristics & related information. Retrieved June 15, 2021, from http://www.ccbd.net/about/ebddefintion.
2.Individuals with Disabilities Education Improvement Act of 2004 (IDEA). (2004).Public Law. Retrieved June 15, 2021, from https://sites.ed.gov/idea.
3.Antalok, K. (2015). Development of the Student Assistance System of Sawang Daen Din School under the Office of the Secondary Education Service Area 23. Journal of Educational and Leadership, 3(10). 179-188.
4.National Education Commission, Office. (1999). National Education Act B.E. 1999 and Amendments (Second Nationnal Education Act B.E. (2002).
Bangkok: Prigwan Graphics. Retrieved June 5, 2021, from http://moe.go.th.
5.No Child Left Behind ACT (NCLB). (2001). Public Law. Retrieved June 15, 2021, from https://www.k12.wa.us/policy-funding/grants-grant-management/every-student>
6.Thongthama, N., Julsuwan, S. (2020). The Development of the Student Care and Support System Guidelines for School Under Mahasarakham primary Educational Service Areaoffice 3. Journal of MCU Nakhondhat, 7(5), 264-278.
7.Arayawinyu, P. (1999). Children with behavioral problems. Bangkok: Wankaew Publishing.
8.Rajanukul Institute. (2016). Handbook for caring for school-aged children with behavioral-emotional problems for health personnel. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited.
9.Iamsupasit, S. (2019). Theories and techniques in behavior modification. (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
10.Kowtrakul, S. (2021). Educational Psychology. (13th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
11.Westling, D. L. (2015). Evidence-Based Practices for Improving Challenging Behaviors of Students With Severe Disabilities. Retrieved June 15, 2021, from https://ceedar.education.ufl.edu/wp-content/uploads/2015/11/EBPs-for-improving-challenging-behavior-of-SWD.pdf.
12.Wiriyangkun, Y. (2018). Behavior Management for Special Education Teachers. Chiang Mai: Leo Media Printing House design.