การพัฒนาทักษะด้านการอ่านภาษาอังกฤษกับการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมความเชื่อ ประเพณี และศาสนา จากบทวรรณกรรมท้องถิ่นผ่านภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์วิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านภาษาอังกฤษกับการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมท้องถิ่นภาษาอังกฤษ ความเชื่อ ประเพณี และศาสนา 2) พัฒนาทักษะด้านการอ่านบทวรรณกรรมท้องถิ่นภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาผลการแปลความหมายของบทวรรณกรรมท้องถิ่นภาษาอังกฤษ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 150 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะด้านการอ่านภาษาอังกฤษกับการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมท้องถิ่นภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนนักศึกษาที่มีคะแนนลดลงไม่ปรากฏ 2) การพัฒนาทักษะด้านการอ่านบทวรรณกรรมภาษาอังกฤษ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.72, S.D.=0.62) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความรู้ความเข้าใจความหมายการอ่านบทวรรณกรรมภาษาอังกฤษ ( =4.12, S.D.=0.43) 3) การศึกษาผลการแปลความหมายของบทวรรณกรรมภาษาอังกฤษ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.02, S.D.=0.60) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความรู้ความเข้าใจในการแปลความหมาย ( =4.57, S.D.=0.82)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Aungwutthanakul, S.(1994). How to Teach English as a Foreign Language. Bangkok: Chulalongkorn University Printing Press.
Goodman, K. (1970). Reading as a Psychologistic Guessing Game. In H. Singer and R. B. Ruddell. (Eds). Theoretical Models and Processes of Reading. New York, N.J.: International Reading Association.
Harris, A. J., & Spay, E. R. (1979). How to Teach English. New York: Longman.
Jattiwat, V. (1998). Teaching English Reading. Bangkok: Silpakorn University.
Jattiwat, V. (2000). Teaching English Reading. (2nd ed). Nakhon Pathom: Silpakorn University.
Kunanuruk, M. (2004). Human Communication Psychology. Bangkok: Ocean Store.
Lapirattanakun, V. (1995). Public Relations. (7th ed). Bangkok: Chulalongkorn University.
Office of the National Cultural Commission. (1992). Meaning and Scope of Cultural Work. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.
Patoomsiri, P. (1998). Competency Development Reading in English for Comprehension of Students Grades 6 by Using Teaching Techniques in Daily Life. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Piphatrungsun, R. (1999). Communication with Human Relations. Retrieved July 15, 2020, from http://ge.kbu.ac.th/Download8_files/img/2.pdf
Saiyot, L., & Saiyot, A. (1996). Learning Measurement Technique. (4th ed). Bangkok: Suveeriyasan.
Stawaythin, P. (1996). Mass Communication: Processes and Theories. Bangkok: Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.
Vanichbuncha, K. (2004). Statistical Principle. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
White, R. V. (1981). Application and Methods for a Communication Approach. Essex: Longman.
Yimvilai, S. (2008). English Reading Abilities and Problems of English-Major Students in Srinakharinwirot University. Journal of Humanities and Socail Sciences, 4(2), 130-148.