เบิ่งฟ้อนฆ้องทรายมูล: นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากภูมิปัญญาการผลิตฆ้อง ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านทรายมูล จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จักรวาล วงศ์มณี
วรางคณา วุฒิช่วย
ณณฐ วิโย
ปิ่นมณี สาระมัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนในการผลิตฆ้องชุมชนบ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อออกแบบการแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากภูมิปัญญาการผลิตฆ้องให้เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยแบ่งขั้นตอนการศึกษาวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลวิจัยจากการสนนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตฆ้อง และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์หรือเคยร่วมแสดงฟ้อนรำในบุญประเพณีท้องถิ่น จำนวน 15 คน โดยวิธีการสุ่มแบบลูกโซ่ เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและมหรสพท้องถิ่น และ ระยะที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบการแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์พื้นบ้านอีสานตามหลักการนาฏศิลป์ให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน


ผลการวิจัย พบว่า ภูมิปัญญาการผลิตฆ้องมีขั้นตอนหลักในการทำฆ้องบ้านทรายมูล เริ่มจากการออกแบบฆ้อง การเชื่อมแผ่นเหล็กหรือทองเหลือง การตีจูม การแต่งเสียง และการเขียนลวดลาย ซึ่งฆ้องทรายมูลมีเอกลักษณ์ คือ ฆ้อง 9 จูม หมายถึงฆ้องที่ตีดุนนูนจำนวน 9 จุด เมื่อนำมาออกแบบการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านตามหลักการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ 5 ประการ คือ 1) รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ แบ่งการแสดงเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 เกริ่นลำทำนองอุบลประกอบเสียงแคน ช่วงที่ 2 ฟ้อนรำตีบทตามเนื้อร้องและจังหวะเพลง และ ช่วงที่ 3 ฟ้อนรำตามจังหวะกลองยาวและนำเสนอการตีฆ้องทรายมูลประกอบการแสดง 2) กระบวนท่ารำและการแปรแถว ท่ารำออกแบบจากท่าฟ้อนรำพื้นบ้านและท่ารำนาฏศิลป์ไทยพร้อมทั้งแปรแถวแบบขบวนฟ้อนกลองยาวพื้นบ้าน 3) ดนตรีและเพลงประกอบการแสดง ใช้ดนตรีพื้นบ้านประกอบทำนองเพลงอีสาน ลำเซิ้ง ลำเพลิน และกลองยาว เนื้อร้องประพันธ์จากคำขวัญและเอกลักษณ์ของชุมชน 4) เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง ใช้ผ้าพื้นเมืองและผ้าถุงมัดหมี่พร้อมทั้งออกแบบเครื่องประดับที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของชุมชน และ 5) โอกาสที่ใช้ในการแสดง ใช้แสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวหรือคณะบุคคลที่มาเยี่ยมเยือน ตลอดจนงานบุญรื่นเริงในหมู่บ้าน


 

Article Details

How to Cite
วงศ์มณี จ. ., วุฒิช่วย ว. ., วิโย ณ. . ., & สาระมัย ป. . (2023). เบิ่งฟ้อนฆ้องทรายมูล: นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากภูมิปัญญาการผลิตฆ้อง ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านทรายมูล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 1097–1108. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/254924
บท
บทความวิจัย

References

Channinwong, N., & Limsakul, P. (2014). Choreography of Thai Performing Arts Movement of Acarn Suwanni Chalanukroa-The National Artist 1990. Journal of Fine and Applied Arts Chulalongkorn University, 1(1), 32-39.

Chantawanich, S. (2004). Qualitative Research Methods. (12th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Chonphairot, M. (2008). Guidelines for Conservation, Restoration and Development of Identity and Traditions of the Kula Ethnic Group in the Northeast. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Department of Community Development. (2018). OTOP Nawatwithi Community Tourism Project Management Manual. Retrieved September 10, 2018, from http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER051/GENERAL/DATA0000/00000042.PDF

Department of Tourism. (2016). Statistics of Domestic Tourists in 2016 (Classified by Region and Province). Retrieved September 10, 2018, from https://www.mots.go.th/old/more _news.php?cid=438&filename=index

Phankhong, T., Joungtong, S., & Suwankum, S. (2016). The Integrate Shadow Puppet Show with the Cultural Tourism: Case Study Nakarin Chatong’s Shadow Puppet Show. Humanities & Social Sciences KhonKaen University, 33(3), 222-240.

Phonsan, N., & Potiwetchakul, S. (2019). The Costume Design for Isan Folk Dance of Kalasin College of Dramatic Arts. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 11(1), 161-186.

Richards, G. (1996). Production and Consumption of European Cultural Tourism. Annals of Tourism Research, 23(2), 261–283.

Rungcharoen, A., & Disatapunahu, S. (2014). The Use of Folk Art Uniqueness to Promote Cultural Tourism: A Case Study of Suphanburi Province. Institute of Culture and Arts Journal, 16(1), 31-46.

Srejongsoang, S., & Nongped, K. (2019). The Development of Creatively Cultural Tourism Resources of Communities in the Lower North -Eastern Provincial Cluster 2. Journal of Humanities and Social Science Ubon Ratchathani University, 10(Special), 72-101.

Thongkhamsuk, P. (2004). Teacher Chamrieng Buddhapradab, National Artist: A Model of Being a Teacher Who Conveys Traditional Thai Dancing Arts. Bangkok: Office of Performing Arts, Fine Arts Department.

Virulrak, S. (2004). Principles of the Performance of the Classical Dance. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Wajanawichakon, K. (2019). Increasing Efficiency of Production Process of 9-Joom Gong: A Case Study of Khonsai, A Gong-Making Village, Ubon Ratchathani. UBU Engineering Journal, 12(2), 86-98.